Page 41 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 41
A2
การศึกษาในระดับประถมศึกษา หลังได้เข้า Intensive heart failure clinic ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจ
ล้มเหลวดีขึ้น จาก 40.37(±8.71) คะแนนเป็น 44.31(±6.78) คะแนน คุณภาพชีวิตดีขึ้น อัตราการกลับมานอน
โรงพยาบาลซ้ำลดลงเหลือร้อยละ 9.52 ระยะทางในการทดสอบ 6MWT ดีขึ้นจาก 268.92(± 198.84) เมตร
เป็น 317.89(±204.23) เมตร และผล EF จากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง ดีขึ้นจาก
22.65%(±8.34) เป็น 42.86% (±14.74) ซึ่งจะเห็นว่าผลลัพธ์ทางคลินิกที่กล่าวมาข้างต้นแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่อัตราตายไม่แตกต่างกัน
อภิปรายผล
การจัดตั้งคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวอย่างเข้มข้น (Intensive heart failure clinic) ซึ่งมีการจัด
กิจกรรมโดยการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาปรับใช้ในการออกแบบระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจ
ล้มเหลวร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยการนำฐานข้อมูลของผู้ป่วยที่มีอยู่ร่วมกับการใช้ evidence – based
guideline มาเป็นแนวทางในการจัดระบบการดูแลโดยกิจกรรมมีการให้ความรู้โดยทีมสหสาขา สนับสนุน
และติดตามทักษะการจัดการตนเอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองมากขึ้น
มีการนำความรู้และทักษะที่ได้ไปปฏิบัติจนเห็นผลของการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นและมีการกระทำอย่าง
ต่อเนื่อง มีการส่งต่อการดูแลไปโรงพยาบาลชุมชนและติดตามเป็นระยะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์การดูแลที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังทำให้ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปัญหาซับซ้อน ที่เข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และลดค่าใช้จ่ายจากการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำบ่อยครั้ง
สรุปและข้อเสนอแนะ
ควรทำการศึกษาติดตามกลุ่มตัวอย่างในระยะยาว เพื่อติดตามถึงการคงอยู่ของพฤติกรรมการจัดการ
ตนเอง คุณภาพชีวิต ระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ
เพศ
0 34 36.17
1 60 63.83
อายุเฉลี่ย (mean ± SD) 57.54 ±17.07
Re-admission ≤28 days 4 9.52
Dead 12 12.77
ยา NHB
ACEI/ARB/ 74 79.57
B-Blocker 90 95.74
ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ
Aldactone 82 87.23
lasix 73 77.66
war 24 25.81
dig 13 13.83
ARNI 3 3.19
nitrate 7 7.45