Page 45 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 45

A6


                  อภิปรายผล
                           ในการศึกษาวิจัยเรื่อง เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Procaine hydrochloride และ Lidocaine
                  hydrochloride ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นเพื่อป้องกันภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้วหลังคลายการหนีบหลอด
                  เลือดแดงใหญ่ในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
                            การศึกษามีสองกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มแรกมี Procaine hydrochloride ผสมอยู่ในน้ำยาที่ทำให้
                  หัวใจหยุดเต้นและกลุ่มที่สองมี Lidocaine hydrochloride ผสมอยู่ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น ในข้อมูล
                  พื้นฐานทั้งอายุ เพศ โรคประจำตัว ค่าการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricular ejection fraction)
                  นั้นไม่แตกต่างกัน ส่วนขั้นตอนการผ่าตัด ระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมไม่แตกต่างกัน แต่
                  ระยะเวลาการหนีบหลอดเลือดแดงใหญ่ในกลุ่มที่มี Lidocaine hydrochloride ผสมอยู่ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจ
                  หยุดเต้นนั้นมีระยะเวลาที่นานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ภาวะการเกิดหัวใจเต้นสั่นพริ้วหลังจากคลาย
                  การหนีบหลอดเลือดแดงใหญ่ไม่แตกต่างกัน เมื่อเกิดภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้วแล้วต้องทำการกระตุกหัวใจ
                  (Defibrillation) เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ โดยเริ่มต้นที่พลังงาน 10 จูล (Joule) พบว่ากลุ่มที่มี
                  Procaine hydrochloride ผสมอยู่ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นต้องใช้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                  แต่เมื่อเพิ่มจำนวนพลังงานมากกว่า 10 จูล (Joule) พบว่ากลุ่ม Lidocaine hydrochloride ผสมอยู่ในน้ำยาที่
                  ทำให้หัวใจหยุดเต้นนั้นใช้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นต้นไป ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Dorian P
                  และคณะที่มีการศึกษาว่า Lidocaine hydrochloride มีส่วนในการเพิ่มการใช้พลังงานในการกระตุกหัวใจ
                  เพื่อให้หัวใจกลับมาสู่ภาวะปกติ จำนวนครั้งในการทำ Defibrillation ไม่แตกต่างกัน ส่วนการใส่เครื่องกระตุ้น

                  หัวใจ (Temporary pacemaker) เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (Intra aortic balloon pump) และยาที่
                  ช่วยเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ (Inotropic drug) ในช่วงหลังจากอย่าเครื่องหัวใจและปอดเทียมกระทั่งย้ายไป
                  หอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
                           แม้ว่า Procaine hydrochloride ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นจะหยุดนำเข้ามาใช้แล้ว แต่ก็มี
                  Lidocaine hydrochloride ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นจะใช้แทนที่ โดยมีการศึกษาประสิทธิภาพของ
                  Lidocaine hydrochloride ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นอย่างกว้างขวาง และสิ่งที่สำคัญคือภาวะหัวใจเต้น
                  สั่นพริ้วหลังจากคลายการหนีบของหลอดเลือดแดงใหญ่นั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็เป็นสิ่งที่
                  ตัดสินใจใช้ในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจได้ต่อไป

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         Lidocaine hydrochloride สามารถมาใช้แทน Procaine hydrochloride ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุด
                  เต้นโดยการเกิดภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว (Ventricular Fibrillation) หลังคลายการหนีบของหลอดเลือดแดงใหญ่
                  ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50