Page 43 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 43
A4
เปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรเคนไฮโดรคลอไรด์และลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์
ในน้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น เพื่อป้องกันภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว
หลังคลายการหนีบหลอดเลือดแดงใหญ่ในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
นายรัฐ ป้องสีดา นายคมกฤษณ์ โกมุทรินทร์
นางมนต์เทียน นิธิธนกุล และนางสาวณฐมน ศรีวิโรจน์มณี
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease) เป็นหนึ่งในโรคหัวใจที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง
โดยการรักษาด้วยยา การควบคุมอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษา อย่างไรก็ตามหากวิธีการเหล่านี้
ไม่ตอบสนองต่อการรักษา การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft surgery)
จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้นและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) เกิดขึ้นได้บ่อยหลังการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งจะส่งผลต่อ
อัตราการตายและอัตราการป่วย โดยภาวะหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (Ventricular fibrillation) เป็นภาวะหัว
ใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นมีความสัมพันธ์กับเวลาการขาดเลือด
ของหัวใจขณะผ่าตัด ดังนั้นน้ำยาที่ให้หัวใจหยุดเต้น (Cardioplegia solution) จะต้องทำหน้าที่ป้องกัน
กล้ามเนื้อหัวใจบาดเจ็บ ซึ่งส่วนผสมนั้นมีความแตกต่างกันของ Anti-arrhythmia โดยโรงพยาบาลหลายๆ
แห่งใช้ยากลุ่ม Beta-blocker และ Calcium blocker ที่จะป้องกันการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลังการ
คลาย Aortic clamp ซึ่ง Lidocaine และ Procaine hydrochloride เป็นสารละลายที่ใช้ผสมในน้ำยา
cardioplegia โดยทำหน้าที่ลดจำนวนโซเดียมที่อยู่ภายนอกเซลล์ ซึ่งส่งผลทำให้ไม่เกิด action potential
หัวใจจึงหยุดเต้น
โดย Procaine Hydrochloride ที่ผสมในน้ำยา Cardioplegia นั้นได้หยุดการผลิตและยกเลิกการ
นำเข้ามาขาย ทำให้หลายๆศูนย์โรคหัวใจได้ผลิตน้ำยา Cardioplegia เองในโรงพยาบาล ซึ่ง Lidocaine
Hydrochloride ก็เป็นยา anti-arrhythmic และกลไกลการออกฤทธิ์เหมือนกับ Procaine Hydrochloride
ซึ่งในงานวิจัยนี้ เราศึกษาภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้วจากการใช้ Lidocaine Hydrochloride และ
Procaine hydrochloride ในน้ำยา cardioplegia ว่ามีภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้วหลังการคลาย Aortic clamp
หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว (Fibrillation) หลังการคลาย Aortic clamp จากการใช้
Cardioplegia solution ที่มีส่วนผสมของ Lidocaine Hydrochloride และ Procaine Hydrochloride
ในการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
วิธีการศึกษา
ระเบียบวิธีวิจัย Observation Cohort study