Page 44 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 44
A5
กลุ่มประชากร ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
ที่หน่วยผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลมหาราชราชนครราชสีมา ในช่วงเดือนตุลาคม
2562 ถึงเดือนธันวาคม 2565
กลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์การคัดเข้าของโครงการ ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
(Coronary artery disease), ได้รับการผ่าตัด Coronary artery bypass graft, อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เกณฑ์การคัดออกของโครงการ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจและผ่าตัดซ่อมหรือ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจร่วมด้วย, ผู้ป่วยที่ใช้น้ำยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น HTK Solution, ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างผ่าตัด
ผลการศึกษา Base line Patient Characteristics
ในการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 328 รายเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
โดยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจโดยใช้น้ำยาที่ทำให้ใจหยุดเต้นที่มีส่วนผสมของ
โปรเคนไฮโดรคลอไรด์ และกลุ่มที่สองเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจโดยใช้น้ำยาที่ทำให้ใจหยุดเต้น
ที่มีส่วนผสมของลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย 112 ราย (67.7%) และ 117 ราย (71.3%) อายุ
เฉลี่ย 64.19 ปีและ 64.24 ปี comorbid ที่พบได้แก่ Diabetes Mellitus 73 ราย (44.5%) และ 80 ราย
(48.8%), hypertension 144 ราย (87.8%) และ 147 ราย (89.6%) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีค่า EF>40 โดยกลุ่ม
แรก 49.40% และกลุ่มที่สอง 46.93%
Variables and Indicators Related to Arrhythmia During Surgery in the Two Studied Groups
ระยะเวลาในการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมไม่แตกต่างของทั้งสองกลุ่ม 120.51 นาทีและ 145.81
นาที แต่ระยะเวลาการหนีบหลอดเลือดแดงมีความแตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม 76.07 นาทีและ 87.79 นาทีที่ P<
0.01 หลังจากคลายการหนีบหลอดเลือดแดงแล้วเกิดภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้วของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันที่ 37
ราย (22.6%) และ 49 ราย (29.9%) ที่ p=0.123 จากนั้นทำการ Defibrillation เริ่มต้นที่พลังงาน 10 จูล
ที่ 21 ราย (24.4%) และ 13 ราย (15.1%) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P = 0.005
และเมื่อทำการ Defibrillation ที่มากกว่า 10 จูล เป็นต้นไปพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ 16 ราย (18.6%) และ 36 ราย (41.9%) ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.005 และจำนวนครั้ง
ในการ Defibrillation ไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม 0.35 ครั้งและ 0.46 ครั้งตามลำดับ หลังจากนั้นถ้าหัวใจยังมี
ภาวะหัวใจเต้นช้า จึงทำการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Temporary Pacemaker) ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างพบว่า
ไม่มีความแตกต่างกัน 3 ราย (1.8%) และ 7 ราย (4.3%) กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะการบีบตัวของหัวใจไม่ดี ต้องใส่
เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (Intra aortic balloon pump) ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างพบว่าไม่มีความ
แตกต่างกัน 3 ราย (1.8%) และ 8 ราย (4.9%) และมียาที่ช่วยเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ (Inotropic drug)
ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 114 ราย (69.5%) และ 135 ราย (82.5%) ส่วนใหญ่
ผู้ป่วยทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 4 เส้น 93 ราย (56.7%) และ 88 ราย (53.7%) ตามลำดับ
Postoperative parameters and outcomes
หลังออกจากห้องผ่าตัดมาอยู่ที่ cardiac care unit (CCU) พบว่าระยะการใส่ท่อช่วยหายใจไม่แตกต่าง
กันทั้งสองกลุ่ม 2.25 วันและ 2.31 วัน ส่วนค่า Creatinine ในวันแรกและวันที่สองไม่แตกต่างกัน วันแรก 1.15
mg/dl และ 1.56 mg/dl ส่วนวันที่สอง 1.46 mg/dl และ 1.42 mg/dl ตามลำดับ ระยะเวลาการนอนหอ
ผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจอยู่ที่ 7.48 วันและ 6.61 วันไม่แตกต่างกัน ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลอยู่ที่ 12.11 วัน
และ 12.34 วันตามลำดับ และอัตราการตายผู้ป่วยใน 30 วันพบว่าอยู่ที่ 10 ราย (6.1%) และ 10 (6.1%)
ไม่แตกต่างกัน