Page 443 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 443

L20

                       การพัฒนาระบบการตรวจรักษาแพทย์แผนไทยและการให้บริการแบบบูรณาการ


                                    นางสาวชุติมา แก้วเติมทอง นางสาวแสงอรุณ เมืองคำ และนางสาวฐิติพร จารุสุนทรวัฒน์
                                                           โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         สืบเนื่องจากนโยบายการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 ยกระดับการแพทย์แผนไทย
                  การแพทย์ทางเลือก สมุนไพร และภูมิปัญญาไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มศักยภาพของแพทย์แผนไทย
                  กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง ได้เล็งเห้นความสำคัญของนโยบาย

                  ดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาระบบการตรวจรักษาแพทย์แผนไทยและการให้บริการแบบบูรณาการขึ้น ในปี 2565
                         โดยงานแพทย์แผนไทยของ โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง ในด้านการตรวจวินิจฉัย วินิจฉัย ยังไม่เป็นไป
                  ตามองค์ความรู้ทางด้านแพทย์แผนไทย เนื่องจากความเร่งรีบของผู้มารับบริการ และภาระหน้าที่ของแพทย์
                  แผนไทย นอกเหนือจากการตรวจ วินิจฉัย ทำให้การตรวจซักประวัติ ไม่ละเอียด ไม่ครอบคลุม อีกทั้งแพทย์

                  ขาดความชำนาญในการวิเคราะห์โรคที่ซับซ้อน
                         หัตถการในการรักษาไม่หลากหลาย ขาดการใช้องความรู้ภูมิปัญญาไทย ให้หัตถการพื้นฐาน ได้แก่
                  การนวด ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ยาสมุนไพร และการทับหม้อเกลือ และส่งผลต่อการรักษาไม่เป็นไป

                  ตามแนวทางเวชปฏิบัติ เนื่องจากไม่มีการตรวจ ประเมินผลการรักษาอย่างละเอียด และผู้ป่วยนัดต่อเนื่องซ้ำๆ
                  เป็นระยะเวลานาน
                         ผู้ป่วยรายใหม่เข้ารับการรักษาได้ยากขึ้น ระยะเวลาในการรอคอยค่อนข้างนาน รวมถึงผู้ป่วยรายเก่า
                  ที่เดินทางไม่สะดวก ไม่สามารถมารับการรักษาต่อเนื่องที่ โรงพยาบาลได้ และการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบบูรณา
                  การได้ไม่เต็มศักยภาพ ดังนั้นงานแพทย์แผนไทยจึงมีความสนใจในการพัฒนาระบบการตรวจ รักษาแพทย์แผนไทย

                  และการให้บริการแบบบูรณาการ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาระบบการตรวจ รักษาแพทย์แผนไทย ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
                         2. เพื่อให้หัตถการมีความหลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย
                         3. เพื่อให้สามารถประเมินผลการรักษา อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปตามแนวทาง CPG

                         4. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ ลดระยะเวลาการรอคอย และสามารถรับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง
                         5. เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบบูรณาการผสมผสาน ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ

                  วิธีการศึกษา
                         Plan: กำหนดระยะเวลาการทำงาน ศึกษามาตรฐานการบริการ ประชุมทีมงาน เขียนโครงสร้างระบบงาน
                         Do: กำหนดมาตรฐานแนวเวชปฏิบัติ กำหนดขั้นตอนการรับบริการแพทย์แผนไทย กำหนดผู้รับผิดชอบ

                  หลักในแต่ละคลินิกของแพทย์แผนไทย ประสานงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
                         Check: ใช้แนวเวชปฏิบัติ และขั้นตอนการรับบริการแพทย์แผนไทย พัฒนาศักยภาพแพทย์แผนไทย
                  ตาม Training Needs และปรับปรุงระบบการรับ-ส่งเคสทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

                         Act: ตรวจสอบข้อผิดพลาดของแนวเวชปฏิบัติ (CPG) ตรวจสอบความเหมาะสมของขั้นตอนการบริการ
                  และระบบ รับ-ส่งผู้ป่วย สอบถามความพึงพอใจ
   438   439   440   441   442   443   444   445   446   447   448