Page 440 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 440
L17
การศึกษาประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน
โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
(The effectiveness of Ya Pox Dod Pit for Myofascial Pain Syndrome
Somdetphraphutthaloetla Hospital,Samut Songkhram Province)
ปฏิญา สายรัตน์, ณัฐฐาน์ เกียรติธำรงคุณ และคณะ
โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ได้จัดบริการ
ด้านการแพทย์แผนไทยครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ
ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จากสถิติผู้ที่มารับบริการส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง
เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง ปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 13,530 ครั้ง (กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า, 2563) และพบว่าผู้ป่วยกลุ่มโรคของอาการปวด
กล้ามเนื้อที่วินิจฉัยโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือแพทย์แผนไทย ด้วยชื่อโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4
หลังที่มีอาการ ปวดตึง คอ กล้ามเนื้อบ่าและสะบัก อาจพบอาการปวด ร้าว ชา แขนด้านนอกและนิ้วมือ หรือ
ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 5 ที่มีอาการมึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริม
การแพทย์ไทยเดิมฯ, 2548) ที่มารับบริการรักษาในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 3,780 ครั้ง และปี พ.ศ. 2564
จำนวน 4,350 ครั้ง ซึ่งมีจำนวนสูงขึ้นถึงร้อยละ 7 (งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาล
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า, 2565) การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนเป็นการรักษา
ตามอาการเพื่อบรรเทาอาการปวด การรักษามักประกอบด้วยการใช้ยาแผนปัจจุบัน แม้จะได้ผลดีในแง่ของการบรรเทา
อาการปวดและการอักเสบแต่มักมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น แผลในกระเพาะอาหาร
หรืออาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และต้องรักษาอย่างต่อเนื่องจึงทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เกิดภาระค่าใช้จ่าย
ที่เพิ่มสูงขึ้น การดูแลแบบการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน จึงเป็นอีกทางเลือกในการดูแลสุขภาพ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน
2. เพื่อศึกษาอาการไม่พึงประสงค์ของยาพอกดูดพิษในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน
วิธีการศึกษา
1. จัดทำโครงร่างการวิจัยเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคนเพื่อ พิจารณาอนุมัติ
หลังจากได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการฯ จึงดำเนินการทดลอง การวิจัยครั้งนี้ได้รับการพิจารณา และรับรอง
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า เลขที่ COA NO.62 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565
2. คัดเลือกอาสาสมัครแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เข้าสู่การวิจัยตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 32 คน
3. การบริหารยา: อาสาสมัครจะได้การรักษาด้วยแผ่นแปะยาพอกดูดพิษบริเวณกล้ามเนื้อหลังส่วนบน
ครั้งละ 1 แผ่น เป็นเวลา 30 นาที วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน
4. เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยประเมินระดับอาการปวด (Visual Analog Scale)
อาการไม่พึงประสงค์ และประเมินองศาการเคลื่อนไหว Cervical Range of Motion (CROM)