Page 444 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 444

L21

                         เครื่องมือประกอบด้วย
                         แบบสังเกตการมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบนิเทศ แบบสอบถามการมีส่วนร่วม

                  แบบประเมินความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
                  มาตรฐาน

                  ผลการศึกษา
                         ภายหลังการดำเนินการพัฒนาระบบการตรวจรักษาแพทย์แผนไทยและการให้บริการแบบบูรณาการ
                  สรุปผลดังนี้

                         1. ผู้ป่วยได้รับการตรวจ วินิจฉัย รักษา อย่างเป็นระบบ ตามมาตรฐาน ร้อยละ 50, 100 และ 100
                  ในปี 2565 ,2566 และ 2567 (1 ต.ค.66-11 เม.ย.67) ตามลำดับ
                         2. หัตถการในการรักษามีความหลากหลาย ปลอดภัย ในปี 2565 มีทั้งสิ้น 6 หัตถการ ได้แก่ นวด
                  ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ พอกยาสมุนไพร ยาสมุนไพร และในปี 2566 ถึงปัจจุบัน มีจำนวน

                  ทั้งสิ้น 16 หัตถการโยการน้ำภูมิปัญญาไทย องความรู้หมอพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและมี
                  ประสิทธิภาพ ได้แก่ นวด ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ พอกยาสมุนไพร ยาสมุนไพร สักยา
                  สมุนไพร บ่งต้อ กักน้ำมัน นวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย มณีเวช สุมยาสมุนไพร สุมกระหม่อม ยาปรุง

                  เฉพาะราย เผายาสมุนไพร สมาธิบำบัด
                         3. ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อย่างน้อย 1 ระดับ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน คิดเป็นร้อยละ 80, 100 และ
                  100 ในปี 2565 ,2566 และ 2567 (1 ต.ค.66-11 เม.ย.67) ตามลำดับ
                         4. มีจำนวนร้อยละผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.95,25.55 และ 20.02 ในปี 2565 ,2566 และ
                  2567 (1 ต.ค.66-11 เม.ย.67) ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

                         5. มีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการผสมผสานร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพ เป็นรูปธรรม ในปี
                  2565 มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ 4 หน่วยงาน ได้แก่ OPD คู่ขนาน, NCD, IMC และ Palliative
                  care ในปี 2566 จนถึงปัจจุบัน มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ 9 หน่วยงาน ได้แก่ OPD คู่ขนาน, NCD,

                  IMC, Palliative care, ANC, LR,กระตุ้นพัฒนาการเด็ก, มารดาหลังคลอดหอพักผู้ป่วยใน และงานชุมชน
                  ร่วมกับกายภาพบำบัด และ จนท.รพ.สต. อสม. ผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน

                  อภิปรายผล
                         จากการพัฒนาระบบการตรวจรักษาแพทย์แผนไทยและการให้บริการแบบบูรณาการ สามารถเพิ่ม
                  ศักยภาพการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยผ่านการดำเนินที่เป็นระบบ

                  ได้มาตรฐานวิชาชีพ มีการพัฒนาศักยภาพแพทย์แผนไทยนำไปสู่การนำภูมิปัญญาไทย มาใช้ในการรักษาผู้ป่วย
                  รวมถึงการบูรณาการร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการรักษาผู้ป่วยร่วมกัน อีกทั้งการดูแลผู้ป่วยถึงบ้านในชุมชน
                  ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกโรงพยาบาล โดยการดำเนินงานทั้งหมดนี้ได้ส่งผลโดยตรง
                  ต่อผู้มารับบริการในการเข้าถึงบริการที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน เกิดความเชื่อมั่นและความประทับใจ
                  ในการให้บริการ ส่งผลให้เป็นที่นิยมในการเข้ารับบริการจากประชาชน เพิ่มมากขึ้น
   439   440   441   442   443   444   445   446   447   448   449