Page 446 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 446
L23
ความสำเร็จของการดำเนินการตามนโยบายด้านการนำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
(Health For Wealth) ด้านการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตได้ในเขตสุขภาพที่ 7
กรณีตัวอย่าง ผลการดำเนินงานของโรงงานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลพล
เปรียบเทียบก่อนและหลังการประกาศนโยบาย ข้อมูลปีงบประมาณ 2563 - ครึ่งปี 2567
เภสัชกรหญิงวชิรานี วงศ์ก้อม
โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ในปีงบประมาณ 2567 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ประกาศนโยบายด้านการนำสุขภาพขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ (Health for Wealth) โดยมีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์บริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรและภูมิปัญญา
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อต่อยอดการสร้างเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งเขต
สุขภาพที่ 7 มีการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีการผลิตได้ในเขตสุขภาพ โดยมีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพ
ในการผลิตสมุนไพร ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
จังหวัดร้อยเอ็ด โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น ในการนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ขอให้โรงพยาบาลทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 7 สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่ผลิตได้ในเขตสุขภาพที่ 7
โดย เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 โรงพยาบาลพล เสนอรายการยาลูกประคบ 1 รายการ เพื่อ สนับสนุน โรงพยาบาล
ในเขตสุขภาพ ต่อมาเดือนมีนาคม 2567 ได้เสนอรายการยาสนับสนุนเพิ่มขึ้นเป็น 12 รายการ (อาทิ ชาชง
ยาอม ขี้ผึ้งไพล ยาใช้ภายนอก) โดยอดีตโรงพยาบาลพลตั้งขีดความสามารถในการผลิตยาสมุนไพรเพื่อ
การสนับสนุนแก่รพ.อื่นๆปีละ 1 ล้านบาทดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับนโยบาย จึงปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้น เป็น
2.5 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2567 และมีนโยบายสนับสนุนการซื้อวัตถุดิบสมุนไพรที่ปลูกโดยเกษตรกร
ในเขตสุขภาพที่ 7 เพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลการดำเนินการตามนโยบายด้านการนำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Health For Wealth)
ด้านการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตได้ในเขตสุขภาพที่ 7 เปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินการ
ทั้งด้านมูลค่ากำลังการผลิต, ต้นทุนการผลิต และผลต่อการต่อยอดด้านเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชน
วิธีการศึกษา
เตรียมความพร้อม • SP เขตสุขภาพ ส ารวจรายการยาสมุนไพรที่ผลิตได้ในเขตสุขภาพและหารือศักยภาพในการผลิต
สนับสนุนเขต รวมทั้งส ารวจความต้องการในปีงบประมาณ 2567
ประกาศนโยบายและ • เขตสุขภาพประกาศนโยบายส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีการผลิตได้ในเขตสุขภาพ และ
ตัวชี้วัด ก าหนดเป้าหมายตัวชี้วัดที่ชัดเจน
วางระบบ • มีแนวทางการจัดซื้อ ขอสนับสนุนยาสมุนไพรตามระเบียบพัสดุและช าระผ่าน GFMIS
• ประชุมชิ้แจงผู้เกี่ยวข้องทุกโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ เพื่อด าเนินการตามนโยบาย
• ติดตามผลการด าเนินงานในการประชุมทุกเดือน และติดตามผ่านการก ากับข้อมูลรายโรงพยาบาล
นิเทศงาน/ก ากับติดตาม
ตามที่เขตสุขภาพก าหนด
• มีการประเมินผลงานครึ่งปีงบประมาณ ปรับแผนการจัดซื้อ โรงงานผลิตยาสมุนไพรปรับแผนการ
ถอดบทเรียน/ประเมินผล ผลิต เพิ่มรายการยาที่สามารถสนับสนุนได้