Page 438 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 438

L15

                                                                                 หลังรักษา
                                                   ก่อนรักษา
                               ข้อมูล                          ครั้งที่ 1  ครั้งที่ 2  ครั้งที่ 3  ครั้งที่ 4  ครั้งที่ 5
                                                            ค่าเฉลี่ย (X̅) ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

                                                                                                      1.00 ±
                                                  3.00 ± 1.55
                   5. ปัญหาการนอนหลับ                                                                  1.26

                                                                                                      0.27 ±
                                                  2.03 ± 1.59
                   6. ปัญหาการเข้าสังคม                                                                0.58
                                                                                                      1.33 ±
                                                  3.53 ± 1.07
                   7. ปัญหาด้านอารมณ์                                                                  0.99


                  ผลการศึกษา
                         จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น
                  ร้อยละ 60 อายุช่วง 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.67 ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 60
                         ประเมินคุณภาพชีวิตก่อนการรักษา ผู้ติดเชื้อโควิด-19 (ระยะ Long Covid) ส่วนใหญ่มีระดับ

                  ความรุนแรงของอาการมากที่สุด 5 ลำดับ คือ อาการไอ ปากแห้ง มีเสมหะในลำคอ คัดแน่นจมูก หายใจไม่
                  สะดวก และอาการคันจมูก หลังจากที่ผู้ติดเชื้อได้รับการสุมยาสมุนไพรต่อเนื่องจนครบ 5 ครั้ง และทำ
                  การประเมินคุณภาพชีวิตหลังการรักษา โดยเปรียบเทียบกับการประเมินผลก่อนการรักษา พบว่า ตอบสนอง
                  ต่อการรักษาโดยมีระดับความรุนแรงของอาการทั้ง 7 ด้านลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาการที่มีความรุนแรง

                  ของอาการลดลงมากที่สุด 3 ลำดับ คือ ลำดับ 1 อาการมึนศีรษะ ก่อนการรักษามีผลค่าเฉลี่ย (X̅=3.57)
                  หลังการรักษา มีผลค่าส่วนต่างของค่าเฉลี่ย (X̅=0.73) ลำดับ 2 อาการปวดศีรษะ ก่อนการรักษามีผลค่าเฉลี่ย
                  (X̅=3.33) หลังการรักษา มีผลค่าส่วนต่างของค่าเฉลี่ย (X̅=0.7) ลำดับ 3 อาการคัดแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก
                  ก่อนการรักษามีผลค่าเฉลี่ย (X̅=3.83) หลังการรักษา มีผลค่าส่วนต่างของค่าเฉลี่ย (X̅=1.27) ส่วนด้านที่ 3-7

                  จะมีการประเมินอาการ ครั้งที่ 5 เปรียบเทียบกับผลการประเมินก่อนการรักษา เนื่องจากว่าระยะเวลาการประเมิน
                  เป็นระยะเวลาวันต่อวันอาจทำให้ผู้ติดเชื้อยังไม่สามารถแยกความแตกต่างของอาการได้อย่างชัดเจน
                           ผลการประเมินความพึงพอใจในแต่ละด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านรูปแบบ
                  คือ รูปแบบ ขนาด ของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความทันสมัย รูปแบบ

                  ของผลิตภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งาน (X̅=4.9) ด้านการใช้งาน คือ ผลิตภัณฑ์มีระยะเก็บรักษาที่ยาวนาน
                  ขึ้น (X̅=5.0) ด้านประโยชน์ คือ ผลิตภัณฑ์สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์สามารถบรรเทา
                  อาการทางเดินหายใจส่วนบนได้(X̅=5.0) โดยรวม มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจเท่ากับระดับมากที่สุด (X̅=4.9)

                  อภิปรายผล
                         จากการวิเคราะห์ผลผู้ติดเชื้อที่ใช้น้ำมันยาสุมอโรม่า ต้าน Long Covid-19 ในกลุ่มที่มีอาการ Long

                  COVID จำนวน 30 คน เมื่อนำมาเปรียบเทียบจำนวนและร้อยละของผู้ติดเชื้อ ก่อนการรักษาและหลังการรักษา
                  ครั้งที่ 5 พบว่า อาการที่มีความรุนแรงของอาการลดลงมากที่สุด 3 ลำดับ คือ ลำดับ 1 อาการมึนศีรษะ
                  ผู้ติดเชื้อมีระดับอาการปานกลางถึงมากที่สุด จำนวน 28 ราย หลังการสุมยา พบว่ามีอาการลดลงจนถึงระดับ
                  ไม่มีอาการ จำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.67 พบผู้ติดเชื้อที่ยังคงมีอาการมึนศีรษะมากเพียง 1 ราย ลำดับ 2

                  อาการปวดศีรษะ ผู้ติดเชื้อมีระดับอาการปานกลางถึงมากที่สุด จำนวน 24 คน หลังการสุมยา พบว่ามีอาการลดลง
                  จนถึงระดับไม่มีอาการ จำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.67 พบผู้ติดเชื้อที่ยังคงมีอาการปวดศีรษะมากเพียง
                  1 ราย ลำดับ 3 อาการคัดแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก ผู้ติดเชื้อมีระดับอาการปานกลางถึงมากที่สุด จำนวน 30 คน
                  หลังการสุมยา พบว่ามีอาการลดลงจนถึงระดับไม่มีอาการ จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.00 พบผู้ติดเชื้อ

                  ที่ยังคงมีอาการคัดแน่นจมูกมากเพียง 4 ราย สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศุภวรรณ ชัยประกายวรรณ์ (2565)
   433   434   435   436   437   438   439   440   441   442   443