Page 449 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 449

L26

                      ประสิทธิผลการออกกำลังกายท่าฤๅษีดัดตนต่อสมรรถภาพปอดและคุณภาพชีวิต
                                      ของผู้เลิกบุหรี่ โรงพยาบาลกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี


                                       นางสาวโชติกา โพธิไพสนธ์  แพทย์หญิงนิโลบล ช่วยแสง และนางสาวเพ็ญพิมล ใจน้ำ
                                                             *
                                                                     โรงพยาบาลกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         สถิติการเสียชีวิตของผู้เลิกบุรี่ทั่วโลก การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนเวลา ซึ่งร้อยละ 50
                  ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว คาดการณ์ว่า พ.ศ. 2573 จะมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่

                  เพิ่มขึ้นปีละ 10 ล้านคน [1] ปัญหาที่พบบ่อยในผู้เลิกบุหรี่ เช่น หายใจไม่อิ่ม ไอ คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ
                  กระวนกระวายและหงุดหงิดทางอารมณ์ยัง ส่งผลกระทบต่อการเลิกบุหรี่ เช่น มีอาการหดหู่อารมณ์ ซึมเศร้า
                  ภาวะซึมเศร้าจะส่งผลเสียต่อการพยายามเลิกบุหรี่ [2, 3] ปัญหาการสูบบุหรี่ในพื้นที่อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี
                  ในกลุ่มประชากรของอำเภอกู่แก้ว ประชาชนส่วนใหญ่ จะเป็นวัยรุ่นตอนต้นและผู้สูงอายุ ตามลำดับ จากการสำรวจ

                  ในคลินิกอดบุหรี่ ปี 2564-2565 พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่ จำนวน 341 คน และผู้ที่เลิกบุหรี่แล้ว จำนวน 143 คน
                  การสูบบุหรี่เพราะเกิดความเครียด ความวิตกกังวลทางสังคม สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายเพิ่ม
                  สูงขึ้นในปัจจุบัน ด้านโปรแกรมคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลกู่แก้ว ได้จัดกิจกรรมให้คำแนะนำสุขศึกษา

                  โดยเน้นการให้คำปรึกษาแบบไม่ใช้ยา ให้ความรู้ในการเลิกบุหรี่ รวมถึงประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่และ
                  อันตรายต่อร่างกายในผู้ที่สูบบุหรี่ จากการสำรวจในปี 2564 ยังไม่มีการใช้โปรแกรมการแพทย์แผนไทย
                  ในคลินิก จากการทำแบบสอบถามผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ และเข้าโปรแกรมคลินิกอดบุหรี่ระยะเวลา 1 เดือน พบว่าผู้ที่
                  เลิกสูบบุหรี่แล้วยังมีภาวะเครียด มีอาการหอบเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม หงุดหงิดง่าย จึงส่งผลกระทบ
                  ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกบุหรี่ อีกทั้งคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลกู่แก้วยังไม่มีกิจกรรมที่สามารถส่งเสริม

                  สุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย จึงมีความสนใจทำการศึกษาท่าฤๅษีดัดตน 5 ท่า

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาผลการออกกำลังกายท่าฤๅษีดัดตนต่อสมรรถภาพปอดของผู้ที่เลิกบุหรี่
                         2. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกบุหรี่ที่ออกกำลังกายท่าฤๅษีดัดตน

                  วิธีการศึกษา

                         1. รูปแบบการวิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi Experimental
                  Research) ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เลขที่ HEC -04-66-001 จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
                  ราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ เพศชาย อายุ 20-65 ปี ที่เลิกสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 เดือน
                  ในพื้นที่อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power 3.1 (effect size=0.8,
                  α=0.05) โดยกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 35 และเพิ่มจำนวนร้อยละ 20 เผื่อการสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน

                  กลุ่มควบคุมและกลุ่มฤๅษีดัดตน จำนวน 82 คน โดยกลุ่มควบคุม มีผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบ
                  ตามกำหนด  2 คน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาคงเหลือกลุ่มควบคุม 40 คน และกลุ่มฤๅษีดัดตน จำนวน 42 คน
   444   445   446   447   448   449   450   451   452   453   454