Page 450 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 450

L27















                                ภาพที่  1 ดำเนินงานอาสาสมัครผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าโครงการวิจัย

                         2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฝึกไทยโยคะ (ฤๅษีดัดตน)
                  ประกอบด้วย ท่าฤๅษีดัดตน 5 ท่า ดังนี้  1) ท่าเทพพนม (ท่ายืน พนมมือในท่าเทพพนม) 2) ท่าอวดแหวนเพชร
                  (ท่ายืน ท่าแก้ลมในแขน) 3) ท่าแก้เกียจ (ท่ายืน ท่าแก้ลมเจ็บศีรษะและตามัวและแก้เกียจ) 4) ท่ายิงธนู (ท่ายืน
                  ท่าแก้กร่อนปัตคาด และแก้เส้นมหาสนุกระงับ) 5) ท่าดำรงกายอายุยืน (ท่ายืน ช่วยในการทรงตัว และปรับ
                  สมดุลร่างกายฝึกหายใจขยายปอด) ท่าฤๅษีดัดตนต่างๆ ตามกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

                  เป็น การบริหารร่างกายแบบไทย [4] ได้ทำการปรับคำที่ใช้อธิบายให้เหมาะสมในแต่ละท่าที่ได้เกี่ยวข้องกับ
                  การวิจัย ในแต่ละท่าเป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤๅษีดัดตน แก้ลมในแขนร่วมกับการฝึกหายใจ
                  ใช้เวลาในการฝึกต่อครั้ง 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จันทร์ อังคาร พุธ และกลุ่มควบคุม ให้ดำเนินชีวิตประจำวัน

                  ตามปกติ และทำการวัดผลก่อนการศึกษา และหลังจากสิ้นสุดการศึกษาทั้งสองกลุ่ม (เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์)
                  โดยใช้เครื่องวัดสมรรถภาพปอด (Spirometer) โดยแสดงผลเป็นค่าต่างๆ ดังนี้ Forced Expiratory Volume
                  in one second (FEV ), Forced vital Capacity (FVC), Forced expiratory floe at 25-75% (FEF 25-75%),
                                    1
                  Peak Expiratory Flow Rate (PEFR) ท่าการออกกำลังกายฤๅษีดัดตน 5 ท่า จะกำหนดแต่ละท่าใช้เวลา 10 นาที
                  และมีการประเมินคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการศึกษา โดยใช้เครื่องมือแบบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL

                         3. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยหาค่าจำนวน ความถี่ ร้อยละ
                  คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบคะแนนด้านคุณภาพชีวิตก่อนการศึกษา (สัปดาห์ที่
                  0) และหลังเสร็จสิ้นการศึกษา (สัปดาห์ที่ 12) ใช้สถิติ paired samples t-test และเปรียบเทียบค่าความดันโลหิต

                  อัตราการเต้นของหัวใจ ค่าสมรรถภาพปอด โดยใช้สถิติ one way ANOVA (SPSS 21.0) กำหนดระดับ
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

                  ผลการศึกษา
                         ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 82 คน เป็นเพศชาย อายุระหว่าง
                  20-65 ปี กลุ่มควบคุม 40 คน อายุเฉลี่ย 48.55±13.71 มีโรคประจำตัว จำนวน 7 (17.50%) คน ซึ่งทุกคน

                  เป็นโรคในกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน 5 คน (12.50%) ความดันโลหิตสูง 2 คน (5.00%) และใน
                  กลุ่มฤๅษีดัดตน 42 คน อายุเฉลี่ย 52.30±9.09 มีโรคประจำตัว จำนวน 5 คน (11.90%) ซึ่งทุกคนเป็นโรคใน
                  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน 4 คน (9.52%) โรคความดันโลหิตสูง 1 คน (2.38%) กลุ่มตัวอย่าง
                  ประเมินสุขภาพเบื้องต้น พบว่าสามารถเข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ได้ กลุ่มควบคุม มีอาชีพ ทำเกษตรกร 29 คน
                  (27.5%) และอาชีพอื่นๆ 11 คน (27.50%) และกลุ่มฤๅษีดัดตน อาชีพทำเกษตรกร 37 คน (88.10%) และ

                  อาชีพอื่นอีก 5 คน (11.90%) ระดับการศึกษาในกลุ่มควบคุม ประถมศึกษา 24 คน (60%) มัธยมศึกษา 10 คน
                  (25%) อนุปริญญา 2 คน (5%) และ ปริญญาตรี 4 คน (10%) และกลุ่มฤๅษีดัดตน ประถมศึกษา 30 คน
                  (71.42%) มัธยมศึกษา 10 คน (23.80%) อนุปริญญา 1 คน (2.38%) และ ปริญญาตรี   1 คน (2.38%) ระยะเวลา
   445   446   447   448   449   450   451   452   453   454   455