Page 494 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 494

N2

                  ผล (Reflect) โดยการถอดบทเรียนจากการดำเนินแผนปฏิบัติการในแต่ละครั้ง และสะท้อนผลการดำเนินงาน
                  ปัญหาและอุปสรรคให้กับคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดได้ทราบ การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้  เชิง

                  ปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงจำนวนและร้อยละ  เชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ
                  วิเคราะห์ประเด็นสำคัญ

                  ผลการศึกษา: ภายหลังดำเนินงานวงรอบแรก โดยใช้ตาราง Trigger tool ME tool ที่ประกอบด้วยค่า SCr,
                  GFR และสร้าง Line notify ส่งประวัติผู้ป่วยแพ้ยาไปยังรพ.สต. พบ Prescribing error การปรับขนาดยาไม่

                  เหมาะสมตามไตเพิ่มขึ้นก่อนเริ่มการศึกษา เท่ากับ 89 ครั้ง (ก่อนเริ่มวงรอบแรกพบ 13 ครั้งในปี 63) และไม่พบ
                  แพ้ยาซ้ำ ณ รพ.สต. ในวงรอบที่สองกิจกรรมที่เพิ่มมาได้แก่ 1.เพิ่ม INR, Vitamin K inj, ชื่อยาที่ต้องปรับตาม
                  ตับและ/หรือไต (เช่น Meropenem, Colistin, Pyrazinamide) ชื่อยาเทคนิคพิเศษ (เช่น Budesonide MDI,
                  Mixtard inj) ในตาราง Trigger tool ME tool 2.สร้าง Line notify ส่งประวัติผู้ป่วย New case warfarin ไป
                  ยังรพ.สต. และกำหนดแนวทางการป้องกันความเสี่ยงเกิดปัญหาการใช้ยา ณ รพ.สต. 3.ส่งรายชื่อผู้ป่วยที่เป็น

                  โรคไตเรื้อรังระยะ 3 ขึ้นไปและค่า GFR ล่าสุดจากรพ. ไป รพ.สต. และกำหนดแนวทางการแจ้งเตือนรวมทั้ง
                  ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ณ รพ.สต. หลังจบวงรอบที่สอง พบ ADEs เพิ่มขึ้นเท่ากับ 125 ครั้ง แบ่งเป็น
                  MEs, DRPs และ ADRs เท่ากับ 65, 51 และ 9 ครั้งตามลำดับ โดยจาก ADEs 125 ครั้งพบในระดับ Harm

                  level เท่ากับ 75 ครั้ง และมี MEs ที่ป้องกันได้ก่อนถึงตัวผู้ป่วยเท่ากับ 12 ครั้ง ในส่วนรพ.สต. ADEs เป็น 0 ใน
                  วงรอบที่สาม เพิ่มการทบทวนผู้ป่วยที่มารักษาด้วย Acute renal failure, Hypoglycemia, Hyperglycemia
                  และ Exacerbation ผลลัพธ์พบ ADEs เท่ากับ 25 ครั้ง โดยพบปัญหาการใช้ยาสมุนไพรอาหารเสริมด้วยตัว
                  ผู้ป่วยเองแล้วนอน รพ.ด้วย Acute renal failure เท่ากับ 9 ครั้ง และการใช้ยา NSAIDs จาก รพ.สต. แล้วมา

                  นอน รพ.ด้วย Acute renal failure 1 ครั้ง ในวงรอบที่สี่จึงเพิ่มโครงการการให้ความรู้การใช้ยาสมเหตุผลในวัด
                  โรงเรียน ชุมชน ผลลัพธ์ดำเนินการให้ความรู้จำนวน 9 แห่ง

                  อภิปรายผล: การพัฒนาระบบเพิ่มความปลอดภัยและความสมเหตุผลในการใช้ยานี้เป็นกระบวนการในขั้นตอน
                  การทบทวนความเหมาะสมของใบสั่งยาและการรักษาทางคลินิกโดยเภสัชกร ดังนั้นการวัดผลลัพธ์จะไม่รวม
                  ความคลาดเคลื่อนทางยาประเภท Pre-dispensing/Dispensing ที่เกิดจากการจัดจ่ายยาผิดชนิดหรือผิดความ

                  แรง และเนื่องจากระยะเวลาที่ดำเนินการในแต่ละวงรอบไม่เท่ากันผลลัพธ์ที่แสดงจึงอาจมากน้อยตาม
                  ระยะเวลา

                  สรุปและข้อเสนอแนะ: การพัฒนาระบบเพิ่มความปลอดภัยและความสมเหตุผลในการใช้ยาในรพ.เชื่อมต่อกับ
                  รพ.สต.เครือข่ายช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาและความร่วมมือในการใช้ยาหลายกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
                  กลุ่มผู้ป่วยที่การทำงานของตับ/ไตผิดปกติ กลุ่มที่ใช้ยาเทคนิคพิเศษ (เช่น ยาพ่น ยาฉีด) กลุ่มยาความเสี่ยงสูง

                  (warfarin) รวมทั้งป้องกันแพ้ยาซ้ำ ณ รพ.สต.

                         ภาพกิจกรรมประกอบการพัฒนาระบบเพิ่มความปลอดภัยและความสมเหตุผลในการใช้ยา
                         ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่าย
   489   490   491   492   493   494   495   496   497   498   499