Page 491 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 491
M29
4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะแก่สื่อออนไลน์ของท้องถิ่นที่มีผู้ติดตามจำนวน
มาก โดยประสาน ให้ข้อมูลการบริจาคอวัยวะที่สำเร็จในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และให้สื่อ
ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ เพื่อให้ประชาชนเห็นและเข้าถึงง่าย
5) ทำสื่อเผยแพร่การบริจาคอวัยวะที่สำเร็จในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และลงสื่อ
ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะในเพจออนไลน์ของส่วนราชการ เช่น เพจ
โรงพยาบาลต่างๆในจังหวัดอุบลราชธานี เพจสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
6) ลงทะเบียนผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะผ่าน QR code ที่สร้างขึ้น ส่งรับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
สภากาชาดไทยและศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์
7) มีเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ ที่เครือข่ายและประชาชนทั่วไปสามารถ
ติดต่อเพื่อปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง
8) ติดตาม พูดคุยปัญหา และนำปัญหาที่พบ มาปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้ใหม่
9) ประชุมสรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแสดงความจำนงบริจาค
อวัยวะในขณะมีชีวิตอยู่สู่ชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
4. ผลการศึกษา
จากการดำเนินงานการพัฒนาการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะในขณะมี
ชีวิตอยู่สู่ชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี 1 ต.ค. 2565 – 30 ก.ย. 2566 พบว่า เกิดเครือข่ายการรณรงค์
ประชาสัมพันธ์การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะในขณะมีชีวิตอยู่ขึ้นในโรงพยาบาลชุมชน, โรงพยาบาลทั่วไป
และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ภายในจังหวัดอุบลราชธานี และเกิดเครือข่ายกับสื่อออนไลน์ของท้องถิ่น
ส่งผลให้มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะขณะยังมีชีวิต จำนวน 629 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีผู้แสดงความ
จำนงบริจาคอวัยวะเฉลี่ยปีละ 55 ราย
5. อภิปรายผล
จากดำเนินงานการพัฒนาการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะในขณะมีชีวิต
อยู่สู่ชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบใหม่ โดยมุ่งเน้นการใช้สื่อออนไลน์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงง่ายและ
ประหยัดค่าใช้จ่าย เกิดความร่วมมือทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และ
ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ ส่งผลให้มีผู้แสดงความจำนงบริจาค
อวัยวะขณะยังมีชีวิตอยู่เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 11.44
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
การประชาสัมพันธ์การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะในจังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นเรื่องใหม่เพราะ
ในอดีตยังไม่ได้รับการเผยแพร่ในชุมชนเท่าที่ควร ทำให้มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะขณะมีชีวิตอยู่น้อย
มากเมื่อเกิดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การบริจาคอวัยวะทางสื่อออนไลน์ในชุมชนมากขึ้นและสม่ำเสมอ เกิด
เครือข่ายและความร่วมมือของภาครัฐบาลและภาคเอกชน เกิดการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง ไร้รอยต่อ เข้าถึงง่าย
มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะขณะยังมีชีวิตอยู่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดความเชื่อ ทัศนคติที่ดีต่อการบริจาค
อวัยวะ ดังนั้นควรมีการเผยแพร่รูปแบบการการพัฒนาการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแสดงความจำนงบริจาค
อวัยวะในขณะมีชีวิตอยู่สู่ชุมชน โดยใช้สื่อออนไลน์ ในเขตบริการสุขภาพที่ ๑๐ ต่อไป