Page 496 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 496

N4

                   การศึกษาผลของการใช้แบบอัตโนมัติบันทึกเงื่อนไขการใช้ยาต้านจุลชีพในโรคคอหอยอักเสบ

                      ต่อมทอนซิลอักเสบ และไซนัสอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรสาคร
                   (The study of implementation of pop-up checklist for antimicrobial use in outpatients

                      with Pharyngitis, Tonsilitis and Acute Rhinosinusitis at Samut Sakhon hospital)


                                                       เภสัชกรณพวุฒิ กิตติชยารักษ์, เภสัชกรหญิงปราณี ลัคนาจันทโชติ
                                                                            โรงพยาบาลสมุทรสาคร เขตสุขภาพที่ 5

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ในปัจจุบันปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยาและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพยังคงเป็นปัญหา
                  สำคัญทั่วโลก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)
                  สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (RDU & AMR)
                  ขึ้น โดยตั้งแต่เริ่ม Service Plan สาขานี้ในปีงบประมาณ 2559 โรงพยาบาลสมุทรสาครมีการใช้ยาต้านจุลชีพ
                  ในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบน และหลอดลมอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก (Respiratory Infection,

                  RI) คิดเป็นร้อยละ 53.97 ของผู้ป่วย RI ทั้งหมด (เกณฑ์ < ร้อยละ 20) จากนั้นโรงพยาบาลสมุทรสาครได้
                  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย จนกระทั่งต้นปีงบประมาณ
                  2563 (1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563) ยังมีการจ่ายยาต้านจุลชีพร้อยละ 20.91 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์

                  และจากข้อมูลที่นำเสนอในที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วย RI ที่แพทย์สั่งใช้ยาต้านจุลชีพ
                  ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย RI ทั้งหมดที่สั่งใช้ยาต้านจุลชีพ) คือโรคคอหอยอักเสบ ต่อมทอนซิล
                  อักเสบ และไซนัสอักเสบเฉียบพลัน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อวิเคราะห์การสั่งใช้ยาต้านจุลชีพในโรคคอหอยอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ และ
                  ไซนัสอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรสาคร

                  วิธีการศึกษา

                         1. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่มีรหัสโรคในเวชระเบียนเป็นโรคคอหอยอักเสบ
                  ต่อมทอนซิลอักเสบ และไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ระหว่างวันที่
                  1 เมษายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2566

                         2. การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บจากฐานข้อมูลโปรแกรม HOSxP
                         3. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม Microsoft Excel ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการ
                  แจกแจงความถี่และร้อยละ โดยเปรียบเทียบข้อมูลแบบรายปี ช่วงวันที่ 1 เมษายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
                  (ก่อนเริ่มใช้แบบบันทึกเงื่อนไข) กับช่วงวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2566 (หลังเริ่มใช้แบบบันทึก)




                         4. ขั้นตอนการดำเนินงาน

                            4.1  ทบทวนแนวทางการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในโรคคอหอยอักเสบ ต่อมทอนซิล
                  อักเสบ และไซนัสอักเสบเฉียบพลัน จากคู่มือ Service Plan: Rational Drug Use ของสำนักบริหาร
                  การสาธารณสุข
   491   492   493   494   495   496   497   498   499   500   501