Page 489 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 489

M27


                              6. เพิ่มสมรรถนะ Transplant Coordinate nurse ในการเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะ

                              7. จัดอัตรากำลังให้ปฏิบัติหน้าที่เวร On call เพื่อเข้าประเมินและเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะและ
                  ดวงตาได้ทุกวัน
                          ระยะที่ 3 ทดลองใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น

                              ปรับแนวทางเพิ่มการเข้าถึงบริการที่รวดเร็วและง่ายต่อการเข้าถึง ให้ข้อมูลต่อครอบครัวผู้บริจาคโดย
                  ให้ TC nurse  ประจำหน้างานเข้าเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะและดวงตา
                           ระยะที่ 4  การประเมินผลและเผยแพร่ ประเมินผลตามตัวชี้วัด

                  4. ผลการศึกษา
                        1. จำนวนของผู้บริจาคอวัยวะที่สามารถนำไปปลูกถ่ายได้

                        2. จำนวนของดวงตาที่สามารถนำไปปลูกถ่ายได้
                        3. ร้อยละของการร้อยละการเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะและดวงตาสำเร็จ
                        4. ความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา โรงพยาบาลมหาสารคาม
                                         ตัวชี้วัด                        2564      2565      2566       2567
                                                                                                        (6 เดือน)

                1.จำนวนของผู้บริจาคอวัยวะที่สามารถนำไปปลูกถ่ายได้ (ราย)     2        3         5           5
                2.จำนวนของดวงตาที่สามารถนำไปปลูกถ่ายได้ (ดวง)               4        4         13         25
                3.ร้อยละการร้อยละการเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะและดวงตาสำเร็จ   21(3/14)  15(3/20)  28(12/42)  32(15/46)
                4.ความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา   80        85       100        100


                  5. อภิปรายผล การพัฒนาระบบการรับบริจาคอวัยวะและดวงตาโรงพยาบาลมหาสารคาม
                       1. สามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานรับบริจาคอวัยวะได้ โดยการเรียนรู้ได้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ และ
                  สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ ถ้าหากผู้บริหารให้การสนับสนุน และกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น
                  การสนับสนุนให้มีการจัดอบรมเพิ่มสมรรถนะผู้เจรจา การจัดเวรเจรจา เป็นต้น

                       2. เป็นการพัฒนาต่อยอดจากงานประจำ โดยเพิ่มคุณค่าจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยสมองตายด้วยการส่งต่อ
                  อวัยวะและดวงตา ให้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ นอกจากการสรรหาผู้บริจาคอวัยวะและ
                  ดวงตาเชิงรุกจากพยาบาลผู้ประสานงานประจำโรงพยาบาลแล้ว ต้องอาศัยความร่วมมือในการสรรหา และ

                  คัดเลือกผู้บริจาคอวัยวะจากแพทย์ และพยาบาลเจ้าของไข้ ไม่ปล่อยให้เกิดการสูญเปล่าของอวัยวะ และดวงตา
                  ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลก็จะต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเอื้อต่อการปฏิบัติงานโดยง่าย จึงจะทำให้งานมีการพัฒนาได้
                  ต่อเนื่องและยั่งยืน
                     3. ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการรอรับบริจาคอวัยวะที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ดังนั้นจึงมี
                  ความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและร่วมพัฒนา ด้วยความเชื่อเรื่องผลบุญจากการปฏิบัติ

                  คุณงามความดี สอดคล้องกับวิถีชาวพุทธ งานรับบริจาคอวัยวะและดวงตาจึงเป็นงานที่สามารถทำบุญกันได้
                  ง่ายๆ จากงานประจำ ผู้ปฏิบัติงานเกิดความปิติ ความสุข ทันทีภายหลังการจัดเก็บอวัยวะ และดวงตาได้สำเร็จ
                  เป็นงานที่มีคุณค่าต่อจิตใจ และการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มจำนวน การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้

                  ล่วงหน้า

                  6. สรุปและข้อเสนอแนะ
                         สามารถนำไปเป็นคู่มือปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางเดียวกัน ส่งผลให้ผู้รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะและ
                  ดวงตาได้มากขึ้น
   484   485   486   487   488   489   490   491   492   493   494