Page 493 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 493
N1
การพัฒนาระบบเพิ่มความปลอดภัยและความสมเหตุผลในการใช้ยา
ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่าย
เภสัชกรหญิงมาลัยพร กัณฑา และเภสัชกรหญิงอลิศรา คำบา
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
อุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยา (Adverse drug event; ADE) ของรพร.กระนวน ย้อนหลัง
ช่วงปี 2560-2563 เฉลี่ยเท่ากับ 90 ครั้งต่อปี โดยสาเหตุเกิดได้จากทั้งความคลาดเคลื่อนทางยา ( Medication
error;ME), ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาเองของผู้ป่วย (จัดรวมอยู่ในปัญหาการใช้ยา หรือ Drug related
problem; DRP) และอาการไม่พึงประสงค์ของตัวยาเอง (Adverse drug reaction; ADR) หากเกิดเนื่องจาก
ME จะจัดเป็น preventable ADEs ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะป้องกัน preventable ADEs ดังกล่าวเป็นหลัก อย่างไร
ก็ตามปัญหาเดิมของระบบยารพร.กระนวนในเรื่องความปลอดภัยยังมีช่องว่าง เช่น ไม่มีระบบการทบทวนหรือ
ดักจับสัญญาณที่อาจจะเกิด ADEs ที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ฐานข้อมูลของเวชระเบียนระหว่างรพ.กับรพ.สต.ไม่
เชื่อมต่อกันเสี่ยงต่อการเกิดแพ้ยาซ้ำหรือได้รับยาที่ไม่สมเหตุผลจนเกิด ADEs ณ รพ.สต.ได้ ตัวอย่างเหตุการณ์
ผู้ป่วยได้รับยา warfarin ที่รพ. และไปรับบริการที่รพ.สต.ด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ ได้ยากลุ่ม NSAIDs มา
เป็นผลให้เกิด Warfarin overactivity และ Hematoma ที่ขาจนต้องนอนรพ. ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาแนว
ทางการป้องกันไม่ให้เกิดหรือลดความรุนแรงของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยาในรพ. ต่อเนื่องไปจนถึงรพ.สต.
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของระบบเพิ่มความปลอดภัยและความสมเหตุผลในการ
ใช้ยาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่าย
วิธีการศึกษา
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ระยะเวลาวิจัย 1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม
2567 แบ่งออกเป็น 4 วงรอบ ได้แก่ วงรอบแรก 1 มกราคม 2564 - 31 ตุลาคม 2565(1 ปี 10 เดือน) วงรอบ
ที่สอง 1 พฤศจิกายน 2565-31 สิงหาคม 2566(10 เดือน) วงรอบที่สาม 1 กันยายน 2566-31 มกราคม
2567(5 เดือน) และวงรอบที่สี่ 1 กุมภาพันธ์ -31 มีนาคม 2567(2 เดือน) ขั้นปฏิบัติการวิจัย แบ่งออกเป็น
4 ขั้นตอน โดยใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของเคมมิส และแมกทากาค ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนวางแผน(Plan) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Act) ขั้นสังเกตการณ์(Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflect)
กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 1.กลุ่มผู้ป่วยนอกและในที่รับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
กระนวน จังหวัดขอนแก่น 2.กลุ่มเภสัชกรงานบริการ เภสัชกรงานปฐมภูมิ และเจ้าหน้าที่รพ.สต.เครือข่าย
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 1.เชิงปริมาณ ได้แก่ แบบบันทึกกิจกรรมการให้บริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน,
แบบบันทึกอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยา และแบบบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยา
2.เชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ E ขึ้นไป และแบบบันทึกการประชุม
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด(PTC)
การเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan) ได้แก่ ศึกษาบริบทของปัญหาในรพร.กระนวน
และรพ.สต. โดยรวบรวมอุบัติการณ์เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยา ความคลาดเคลื่อนทางยาและปัญหา
การใช้ยา จากนั้นสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและกำหนดสัญญาณ (Trigger tools) ที่จะใช้ติดตามเพื่อป้องกัน
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยา เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหา ขั้นตอนที่ 2 ลงมือปฏิบัติ (Act) นำ
แผนปฏิบัติการที่ได้จากขั้นที่ 1 มาปฏิบัติตาม ขั้นตอนที่ 3 สังเกตผล (Observe) และ ขั้นตอนที่ 4 ขั้นสะท้อน