Page 647 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 647

Q33

                           การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลอุดรธานี


                                                                  นางสาวปัทมาพร คำใจ, นายอัครวัต รัตนวงศ์ไพบูลย์

                                                         นายอนุตร ฐิตญาณพงศ์, นางปาริชาต ตันสุวรรณ และนายวิคม เพ็งแสน
                                                                                โรงพยาบาลอุดรธานี เขตสุขภาพ 8

                                                                                                    ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงทีจะทำให้เกิดเกิดภาวะช็อกได้ สำหรับ

                  ประเทศไทย พบอุบัติการณ์การติดเชื้อในกระแสเลือด ปี 2563 - 2565 จำนวน 75,209, 72,647, 79,088 ราย
                  จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 31.91, 34.09 และ 35.35 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส

                  เลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีสัมพันธ์กับข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลอุดรธานีมีอัตรา
                  การเสียชีวิตปี 2563 - 2565  ร้อยละ 27.28, 30.22, 27.72 ตามลำดับ โดยจากการทบทวนขบวนการดูแล

                  ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดพบว่าในปี 2565 การเข้าถึงบริการล่าช้าโดยโรงพยาบาลอุดรธานีมีอัตรา

                  การย้ายเข้า ICU ภายใน  3 ชั่วโมง ปี  2563 - 2565  ร้อยละ 11.82, 14.34, 11.71 ตามลำดับ การวินิจฉัย
                  ไม่ครอบคลุมและการเข้าถึง ICU ของผู้ป่วย Septic shock ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โรงพยาบาลอุดรธานี

                  จึงได้มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการดูแล
                  ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลอุดรธานี


                  วิธีการศึกษา
                         1) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโรคติดเชื้อ


                         2) จัดตั้งทีม Rapid response team
                         3) พัฒนาระบบการจองเตียง ICU


                         4) กระตุ้นการใช้ Point of care lactate
                         5) ทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ภายในโรงพยาบาลอุดรธานีและโรงพยาบาล


                  ชุมชนในจังหวัดอุดรธานี
                         6) ติดตามผลการดำเนินงานรายเดือน พร้อมวิเคราะห์ปัญหา


                  ผลการศึกษา

                         ในปี 2566 พบอัตราการย้ายเข้า ICU ภายใน 3 ชม. เท่ากับ 14.31 และอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ

                  24.57 และอัตราการย้ายเข้า ICU ภายใน  3 ชั่วโมง ปี  2566  ร้อยละ 14.31
   642   643   644   645   646   647   648   649   650   651   652