Page 659 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 659
Q45
บริการคลินิกแบบครบวงจร การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นไปตามแผนการจัดกิจกรรมในระบบการให้บริการ
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ที่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมสหวิชาชีพไว้ชัดเจน
ดังนี้ พยาบาล มีพยาบาลวิชาชีพจำนวน 2 ราย จะมีการคัดกรองผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยการซักประวัติ
ประเมินอาการและความรุนแรงของโรคจากค่าสมรรถภาพปอดที่ผู้ป่วยเป่าได้ในค่าที่สูงที่สุด ให้ความรู้เรื่องโรค
และคำแนะนำในการปฏิบัติติตัวเมื่อมีอาการหอบกำเริบก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์ จะมีการประเมินอาการ
ของผู้ป่วยและให้การรักษาตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมีนัดประเมินคิดตามอาการ
อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน ในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เภสัชกร จะมีการตรวจ
ประเมินเทคนิคการใช้ยาพ่น ปริมาณการใช้ยาพ่น ค้นหาปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาพ่น
กายภาพบำบัด จะมีการตรวจประเมินสมรรถภาพปอดในทุกครั้งที่เข้ามารับบริการ และสอนการออกกำลังกาย
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อช่วยหายใจ ช่วยให้สมรรถภาพปอดเพิ่มมากขึ้น พยาบาลเวชกรรม จะรับข้อมูลส่งต่อของ
ผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน จากนั้นจะมีการวางแผนเพื่อลงเยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามอาการ
ต่อเนื่อง ค้นหาปัจจัยแวดล้อมที่เป็นตัวกระตุ้นการศึกษาวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ
ทดสอบ paired t-test
ผลการศึกษา
จากการศึกษา ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชาย 127 คน (ร้อยละ 71.75)
มีอายุเฉลี่ย 68 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพ สมรส อาชีพ ทำสวน มีประวัติการสูบบุหรี่ 36 คน (ร้อยละ 20.34)
กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดก่อนเข้าระบบการให้บริการคลินิกแบบครบวงจร มีอัตราผู้ป่วยเกิดอาการหอบกำเริบ
เฉียบพลันเฉลี่ย 23 คนต่อเดือน และมีอัตราผู้ป่วย 1 รายที่กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำหลังจากจำหน่ายออก
จากโรงพยาบาล ภายใน 28 วัน สำหรับผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า อัตราผู้ป่วยเกิดอาการหอบกำเริบ
เฉียบพลันเฉลี่ยเหลือ 16 คนต่อเดือน และมีอัตราผู้ป่วย 1 รายเท่าเดิมที่กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำหลังจาก
จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ภายใน 28 วัน เมื่อเปรียบเทียบค่าสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง
พบว่า ค่าสมรรถภาพปอดหลังได้รับการให้บริการคลินิกปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบครบวงจรเพิ่มสูงกว่าก่อนการให้
ระบบบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-Value 0.02 )
ตาราง เปรียบเทียบค่าสมรรถภาพปอด(Peak expiratory flow rate(PEFR)L/s) ของผู้ป่วยโรคปอด
อุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังการให้ระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังครบวงจร
ค่าสมรรถภาพปอด ค่าเฉลี่ย PEFR SD t-test p-Value
ก่อน 226 66.4 1.65 0.02
หลัง 244 74.2
อภิปรายผล
ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงว่า อัตราผู้ป่วยเกิดอาการหอบกำเริบเฉียบพลันเฉลี่ยลดลง การกลับมานอน
โรงพยาบาลซ้ำหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ภายใน 28 วันมีอัตราจำนวนผู้ป่วยเท่าเดิมและค่า
สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า การจัดให้บริการคลินิกปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบครบวงจร
ช่วยให้พยาธิสภาพของผู้ป่วยดีขึ้น ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ครอบคลุมจากทีมสหวิชาชีพ ทำให้เกิดอาการหอบ
กำเริบลดลงและในรายที่มีปัญหาซับซ้อนได้มีการส่งต่อให้ดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ทำให้ลดการกลับมานอน
โรงพยาบาลซ้ำได้