Page 663 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 663

R2


                  การนอนโรงพยาบาลควบคู่กับผลการรักษาที่ดีมีความปลอดภัยและได้รับความพึงพอใจในการเข้ารับบริการของ

                  ผู้ป่วยสูง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. ศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหัก
                         2. พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหักที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ

                  วิธีการศึกษา
                         ศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลังโดยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนในผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหักที่เข้ารับ

                  การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบ ODS ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึง

                  เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยมีเกณฑ์การเข้ารับบริการคือผู้ป่วยที่มีอายุ 18 – 65 ปี ไม่มีโรคประจำตัว บาดเจ็บ
                  เพียงตำแหน่งเดียวและเป็นกระดูกส้นเท้าหักในแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถผ่าตัดแบบ MIS ได้ ข้อมูลก่อน

                  ผ่าตัดประกอบด้วยเพศ อายุ ระยะเวลารอคอยก่อนผ่าตัด รูปแบบการระงับอาการปวด ข้อมูลขณะผ่าตัด
                  ประกอบด้วย ระยะเวลาการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด อาการปวดก่อนกลับบ้าน ข้อมูลหลังผ่าตัดใช้

                  แบบสอบถามเพื่อติดตามอาการภายใน 24 ชั่วโมง เก็บข้อมูลอาการปวด ภาวะแทรกซ้อน ประเมินความ

                  พึงพอใจในการรับบริการ และประเมินภาพทางรังสี (Bohler’s angle) เมื่อผู้ป่วยมาติดตามการรักษาเพื่อ
                  ประเมินคุณภาพของการผ่าตัดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ Percentage, Mean, Standard

                  deviation

                  ผลการศึกษา

                         ผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหัก จำนวน 23 ราย ได้รับการผ่าตัดแบบ ODS ประกอบไปด้วย ผู้ป่วยชาย

                  22 ราย และผู้ป่วยหญิง 1 ราย ค่าอายุเฉลี่ย 43±10 ปี ระยะเวลารอคอยผ่าตัด 9±3 วัน ใช้การระงับความรู้สึก
                  ด้วยPopliteal nerve block 21 ราย, Total intravenous anesthesia 2 ราย ใช้ระยะเวลาการผ่าตัดเฉลี่ย

                  31±12 นาที อาการปวดก่อนกลับบ้าน 0.4±1.1 คะแนน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด หลังการผ่าตัดได้
                  ติดตามผล พบว่าอาการปวดที่ 24 ชั่วโมง อยู่ที่ 3.2±2.3 คะแนน ไม่มีผู้ป่วยต้องกลับมาโรงพยาบาลโดยไม่ได้

                  วางแผน คะแนนความพึงพอใจ 95±8 คะแนน ติดตามการรักษาด้วยระบบ telemedicine 5 ราย และที่หอ

                  ผู้ป่วยนอก 18 รายพบ Bohler’s angle หลังผ่าตัด 25±7 องศา พบภาวะแทรกซ้อน transient sural nerve
                  paraesthesia 1 รายและ chronic regional pain syndrome 1 ราย


                  อภิปรายผล
                         ผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหักส่วนมากเกิดจากการตกจากที่สูงจึงมักเป็นผู้ชายวัยกลางคนสุขภาพแข็งแรง

                  ดูแลตัวเองก่อนและหลังผ่าตัดได้ดีเหมาะกับการเข้ารับบริการผ่าตัดแบบ ODS เมื่อผู้ป่วยได้รับการ CT scan กระดูกส้น
                  เท้าและเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดแล้วสามารถกลับไปรอผ่าตัดที่บ้านได้ โดยมีการโทรให้คำแนะนำก่อนวัน

                  ผ่าตัดอีกครั้ง ระยะเวลารอคอยผ่าตัดในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ ODS กับผู้ป่วยที่นอนรอผ่าตัดที่

                  โรงพยาบาลมีความใกล้เคียงแต่ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลจะเพิ่มระยะเวลาการดูแลหลังผ่าตัดซึ่งจะใช้ทรัพยากร
                  มากกว่าการผ่าตัดแบบODS
   658   659   660   661   662   663   664   665   666   667   668