Page 662 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 662
R1
ผลลัพธ์การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหัก
Outcomes of One Day Surgery for Calcaneal Fracture
อดิศร จงหมื่นไวย์, คงธัช ชูวงศ์โกมล, ชิดชนก ชูวงศ์โกมล,
วาสนา ยิ้มนวล, ปรียารักษ์ เสริฐจันทึก และ สิริลักษณ์ สุวรรณทา
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การผ่าตัดวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS) หมายถึง การรับผู้ป่วยเข้ามารับการผ่าตัดที่มี
การเตรียมไว้ก่อนแล้วและให้ผู้ป่วยกลับบ้านในวันเดียวกัน หรืออยู่โรงพยาบาลไม่เกิน 24 ชั่วโมง มีเป้าหมาย
เพื่อลดระยะเวลารอการผ่าตัด ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ลดความแออัดใน
โรงพยาบาลเพิ่มการเข้าถึงการบริการของผู้ป่วย ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการดูแลรักษาสูง ตรงกับแนวทาง
ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) แผนงานที่ 6 การพัฒนาระบบ
บริการสุขภาพ(Service Plan) โครงการที่ 16 โดยได้มีการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2561 โดยได้มีการเพิ่มกลุ่มโรคกระดูกหักที่
รับการรักษาแบบยึดกระดูกผ่านผิวหนัง (Percutaneous fixation) ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา
ในอดีตการรักษากระดูกส้นเท้าหักแบบเคลื่อนนั้นใช้การผ่าตัดแบบ Open reduction with plate and
screwซึ่งต้องเปิดแผลใหญ่แบบ lateral extensile approach ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดได้สูง
แต่ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS) เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นซึ่งสามารถทำได้
โดยการผ่าตัดผ่านแผล Sinus tarsi approach หรือ Percutaneous reduction and screw fixation
ซึ่งพบว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อบาดแผลน้อยกว่า โดยที่ได้ผลลัพธ์ของภาพทางรังสีและอาการทางคลินิกที่ไม่
แตกต่างจากการผ่าตัดผ่านแผลแบบ lateral extensile approach
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีการผ่าตัดผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหักประมาณ ปีละ 60 ราย และได้มี
การเริ่มนำการผ่าตัดแบบ MIS ใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 พบว่า สามารถลดระยะรอคอยผ่าตัดและระยะเวลาการ
นอนโรงพยาบาลได้อย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีระยะเวลาการรอคอยผ่าตัดเฉลี่ยที่นาน 9 วัน และระยะเวลานอน
โรงพยาบาลรวมเฉลี่ย 12 วัน ในปัจจุบันความก้าวหน้าของรูปแบบการผ่าตัดแบบ MIS ,การระงับความรู้สึกแบบ
regional nerve block และระบบการดูแลหลังผ่าตัดทำให้เกิดการพัฒนาระบบการผ่าตัดแบบ ODS ในผู้ป่วย
กระดูกส้นเท้าหักขึ้นซึ่งได้เริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2563 โดยปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบ ODS
ดังนี้ Preoperative: CT scan for surgical planning, laboratory work-up and consultation,
activation of the ODS team, preoperative counseling the day before surgery.Perioperative:
Peripheral nerve block or TIVA, minimally invasive surgery (MIS), observation, and pain control.
Postoperative: Follow-up by phone 24 hours after surgery, telemedicine or outpatient
department (OPD) visit at 2 weeks. การพัฒนาระบบ ODS นี้ คาดหวังว่าจะสามารถช่วยลดระยะเวลา