Page 664 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 664

R3


                         ปัจจุบันการระงับความรู้สึกแบบ regional nerve block ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากมีการนำ

                  ultrasound มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฉีดยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดกระดูกส้นเท้าหักแบบ MIS
                  สามารถระงับความรู้สึกด้วยการทำ popliteal nerve block ได้และยังช่วยลดอาการปวดหลังผ่าตัดได้อีกด้วย

                  โดยพบว่าอาการปวดก่อนกลับและเมื่อกลับบ้านไปแล้วอยู่ในระดับที่ต่ำอย่างไรก็ตาม การระงับปวดจะใช้
                  หลักการmultimodal analgesia โดยการให้ยาแก้ปวด Acetaminophen, NSAIDs หรือ Tramadol กลับไป

                  รับประทานร่วมด้วย ระยะเวลาการผ่าตัดที่เหมาะสมกับการผ่าตัดแบบ ODS ไม่ควรเกิน 60 นาที งานวิจัยนี้

                  แสดงถึงกระบวนการผ่าตัดแบบ MIS สามารถทำได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
                         การติดตามหลังผ่าตัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการรักษา จากการประเมินพบว่า

                  ผู้ป่วยพึงพอใจในระบบบริการผ่าตัดแบบ ODS เป็นอย่างมาก มีผู้ป่วย 1 ราย แสดงความเห็นว่าบ้านอยู่ไกลทำ
                  ให้ไม่สะดวกในการเดินทางมาติดตามการรักษาที่โรงพยาบาล ทำให้มีการพัฒนาการติดตามการรักษา

                  แบบ telemedicine เพื่อช่วยลดปัญหาในการเดินทางของผู้ป่วย คุณภาพในการรักษาผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหัก

                  สามารถประเมินได้จาก Bohler’s angle หลังผ่าตัดโดยผลการวิจัยนี้พบว่า Bohler’s angle หลังการผ่าตัดอยู่
                  ในช่วงค่าปกติ (25-40องศา) ในส่วนชองภาวะแทรกซ้อนนั้นจากงานวิจัยการผ่าตัดกระดูกส้นเท้าหักที่ผ่านมา

                  พบว่าการบาดเจ็บของ sural nerve พบได้ร้อยละ 7.7 ในงานวิจัยนี้พบการบาดเจ็บชั่วคราว ร้อยละ 4.3 และ

                  chronic regional pain syndrome พบได้ร้อยละ 3 – 15 ในงานวิจัยนี้ พบร้อยละ 4.3 แสดงถึงความ
                  ปลอดภัยของการผ่าตัดแบบ ODS ในกระดูกส้นเท้าหัก

                         งานวิจัยนี้ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นการวิจัยแบบย้อนหลังทำให้อาจเกิดอคติในการเลือกผู้ป่วย
                  และการเก็บข้อมูล จำนวนผู้ป่วยยังมีน้อยเกินไปยังทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจน ยังขาดการเปรียบเทียบระหว่าง

                  กลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาลและยังไม่ได้แสดงถึงผลลัพธ์ด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่

                  เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         การเลือกผู้ป่วยอย่างเหมาะสม การทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพมีกระบวนการดูแลในระยะก่อนผ่าตัด
                  ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดที่ดีจะทำให้การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในผู้ป่วยกระดูกส้นเท้าหักมีความปลอดภัย

                  ให้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีและมีความพึงพอใจในการรับบริการสูง และยังสามารถพัฒนาต่อเนื่องกับการ
                  ติดตามการรักษาแบบ telemedicine เพื่อลดภาระในการเดินทางของผู้ป่วยได้อีกด้วย
   659   660   661   662   663   664   665   666   667   668   669