Page 708 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 708
S31
วิธีการศึกษา
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการระหว่าง ต.ค. 2565 – พ.ค. 2566 กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการ
ทุกรายที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชาด้วยตนเองและผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์กัญชาในโรงพยาบาล
โดยใช้แบบเก็บข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม
และรวบรวมข้อมูลในApplication TAWAI For Health วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา
ผู้รับบริการที่รักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 17 คน ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย 12 คน (ร้อยละ70.59)
อายุ 31-45 ปี จำนวน6 คน (ร้อยละ35.29) อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่คือเวียนศรีษะ 11 คน (ร้อยละ 64.71)
รองลงมาคือคลื่นไส้ เหนื่อย 4 คน (ร้อยละ 23.53)สาเหตุที่ใช้คือ ประกอบอาหาร 12 คน (ร้อยละ 70.59)
ส่วนที่นำมาใช้คือทั้งต้นช่อดอกและใบ 12 คน (ร้อยละ70.59) แหล่งที่มาของส่วนของกัญชาคือ ปลูกไว้ในครัวเรือน
จำนวนใบที่ใช้จะอยู่ในช่วง 1-5 ใบ และ 1-2 ยอด ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์กัญชาจากคลินิกกัญชา
ทางการแพทย์ มีจำนวน 44 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.91 อายุ 45-54 ปี ร้อยละ 25 ยาที่ใช้
ส่วนใหญ่คือศุขไสยาศน์ 25คน (ร้อยละ 56.82) สาเหตุการใช้ส่วนใหญ่คือนอนไม่หลับ 27 คน (ร้อยละ 61.36)
กระบวนการเฝ้าระวังความปลอดภัยประกอบด้วยคณะกรรมการเฝ้าระวังฯ การมีส่วนร่วมของเครือข่าย
มีสื่อประชาสัมพันธ์ ดูแลการใช้ยาและให้ความรู้ในชุมชน มีระบบการติดตาม รวบรวมข้อมูล ประเมิน บริหาร
จัดการความเสี่ยง สื่อสาร ส่งต่อข้อมูล แจ้งเตือนภัย การจัดการดูแลตนเองเบื้องต้น กลไกดังกล่าวส่งผลให้
ประชาชนมีความรอบรู้มากขึ้น ไม่พบผู้ป่วยจากการใช้กัญชาหรือผลิตภัณฑ์กัญชาด้วยตนเองเข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาล เกิดระบบการเฝ้าระวังกัญชาหรือผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งเชิงรับในโรงพยาบาล
และเชิงรุกในชุมชนโดยเครือข่าย
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ:
กระบวนการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา ส่งผลให้เกิดการใช้กัญชา
และผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการบูรณาการทั้งจากภายในสถานบริการสุขภาพจนถึงชุมชน
อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอีกทั้งต้องเติมเต็มในส่วนของความรอบรู้ด้านกัญชา เสนอให้
ขยายผลให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดเพื่อส่งเสริมการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกต้องและเพิ่มความปลอดภัย
ในการใช้ให้กับประชาชน