Page 707 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 707
S30
กระบวนการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
นางจันทร์จรีย์ ดอกบัว และนางสาวสุธิดา ปาบุตร
โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผล
บังคับใช้เมื่อ 9 มิ.ย. 2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณ
สารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (tetrahydrocannabinol - THC) เกิน 0.2% ที่ยังคงเป็นยาเสพติด โดย
ประชาชนสามารถปลูกเพื่อใช้เอง รวมทั้งผู้ประกอบการที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องจด
แจ้งผ่านแอปพลิเคชันขององค์การอาหารและยา (อย.) โดยกัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ทางการแพทย์
ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนทั้งแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามก็มีผลกระทบหลายด้าน
ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการบริโภคกัญชา จากนโยบายกัญชาเสรีส่งผลให้ประชาชนเริ่มมีการตื่นตัวในการใช้
ผลิตภัณฑ์กัญชามากขึ้น แต่อาจนำไปสู่การใช้ในทางที่ผิด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนใกล้ชิด ทำให้เกิด
ปัญหาสังคม อุบัติเหตุ อาชญากรรมเพิ่มขึ้นได้ หรืออาจมีผู้ป่วยโรคทางจิตเวชสูงขึ้น และในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่
กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไตที่รุนแรง
รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น ยา warfarin) โรคจิตเภท โรคจิตจากสารเสพติด โรคซึมเศร้า โรค
อารมณ์สองขั้ว และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตัวเอง ถือเป็นข้อห้ามในการใช้กัญชา รวมถึงกลุ่มเด็กและ
เยาวชนที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และประสานความร่วมมือไปยังกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ให้คอยสอดส่องดูแลประชาชนในพื้นที่ และแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นไปยัง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปลดล็อคกัญชาเสรีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีประชาชนมี
การใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์จากกัญชา ทั้งที่ใช้ทางการแพทย์และไม่ใช่ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามมา
ด้วยอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้กัญชาที่พบมากขึ้น อีกทั้งความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการใช้
กัญชายังมีน้อย ประชาชนเกิดการอยากลองหรือแสวงหามากขึ้น ทำให้เกิดการใช้ในทางที่ผิด ที่ผ่านมายังไม่มี
ระบบการเฝ้าระวังในประเด็นกัญชาอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ในการใช้ได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ