Page 705 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 705

S28

                  อภิปรายผล

                         การศึกษาเพื่อประเมินความรอบรู้สุขภาพกัญชาในคนไทยที่มีประสบการณ์การใช้กัญชาและผู้ที่
                  ไม่มีประสบการณ์ใช้กัญชา ทั้งหมดจำนวน 478 คน โดยผู้ที่มีประการณ์ในการใช้กัญชา จำนวน 233 คน

                  คิดเป็นร้อยละ 48.74 พบว่าใช้กัญชา เพื่อทางการแพทย์  จำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 24.90 ใช้กัญชา

                  เพื่อการพาณิชย์(ค้าขาย) จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 1.88 ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ  จำนวน 32 คน คิดเป็น
                  ร้อยละ 6.69 ใช้กัญชาเพื่อประกอบอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 15.27 การใช้กัญชา

                  ในด้านอื่นๆ จำนวน 0 คน คิดเป็น และผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 51.26

                      ผู้วิจัยมีประเด็นในการอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ คือ เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชา
                  ระหว่างประชาชนไทยที่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชาและผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชา มีความรอบรู้

                  เกี่ยวกับกัญชาแตกต่างกันหรือไม่ โดยเมื่อพิจารณาถึง การมีประสบการณ์ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล
                  ด้านกัญชาและสุขภาพ ความสามารถในการโต้ตอบ ซักถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านยาและสุขภาพ

                  กับบุคลากรด้านสาธารณสุข การตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาและดูแลสุขภาพ การสอบถามเจตคติเกี่ยวกับ
                  การใช้กัญชาและการบอกต่อผู้อื่นเรื่องการใช้ยาและดูแลสุขภาพ พิจารณาคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้การใช้กัญชา

                  เปรียบเทียบระหว่างประชาชนไทยที่มีประสบการณ์การใช้กัญชาและไม่มีประสบการณ์การใช้กัญชาจากการวัด

                  โดยใช้ข้อคำถามจำนวนทั้งหมด 24 ข้อ
                      ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยประชาชนไทยมีประสบการณ์การใช้กัญชา เท่ากับ 82.33 คะแนน

                  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 11.01 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70.37 คะแนนเฉลี่ยประชาชนไทย

                  ไม่มีประสบการณ์การใช้กัญชาเท่ากับ 76.42 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 13.60 คะแนน คิดเป็น
                  ร้อยละ 65.31 จะเห็นได้ว่าคะแนนระหว่างทั้งสองกลุ่มนั้นมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีความรอบรู้

                  เกี่ยวกับกัญชาอยู่ในระดับพอใช้ได้ คือเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องกัญชาได้ถูกต้อง โดยใช้เกณฑ์อ้างอิง

                  จากกระทรวงสาธารณสุข เมื่อดูการศึกษาอื่นซึ่งใกล้เคียงกับเรื่องความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับกัญชาพบว่า
                  จากการศึกษาของภานุชนาถ อ่อนไกล ซึ่งศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ของ

                  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่น พบว่าส่วนใหญ่มี ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการ
                  เข้าถึงข้อมูลสุขภาพ และการบริการสุขภาพ การสื่อสารและการศึกตัดสินใจ ในการใช้กัญชาทางการแพทย์

                  ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง และการศึกษาของพิมพ์พิสาข์ จอมศรี และคณะที่ศึกษาความรอบรู้

                  เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ของวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงรายพบว่าผู้ใหญ่มีความรอบรู้
                  ทางสุขภาพเกี่ยวกับกัญชาในระดับพอใช้ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้อาจจะไม่สามารถระบุได้ถึงความสอดคล้องกัน

                  ของงานวิจัยเนื่องจากกลุ่มประชากรและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอาจมีผลต่อความรอบรู้และทัศนคติได้ แต่จะได้
                  เห็นถึงแนวโน้มว่า กลุ่มประชากรไทยมีความรอบรู้เกี่ยวเกี่ยวกับกัญชาอยู่ในระดับปานกลางหรือพอใช้

                  เมื่อพิจารณาจากข้อมูลทางสถิติพบว่าความรอบรู้ทั้งประชาชนไทยที่มีประสบการณ์การใช้กัญชาและไม่มี

                  ประสบการณ์การใช้กัญชา มีความรอบรู้ด้านกัญชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ซึ่งอาจ
                  กล่าวได้ว่าหน่วยที่เกี่ยวข้องควรจะมีการให้ความรู้ มีการติดป้ายประกาศหรือทำการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ

                  ข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกัญชาเพื่อให้ประชากรไทยได้รับและทันข่าวกัญชาในปัจจุบัน
   700   701   702   703   704   705   706   707   708   709   710