Page 710 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 710
S33
ผลของน้ำมันกัญชาสูตรอ.เดชาต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในคลินิกกัญชาโรงพยาบาลตรัง
(Efficacy of Cannabis Oil (Deja’s Formula) on the quality of life
at Medical Cannabis Clinic : Trang Hospital)
นายธนเทพ ปูเงิน
โรงพยาบาลตรัง เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันมีการนำกัญชามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อการรักษาโรค ซึ่งต้องเป็นไปตามคำสั่ง
ของผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาเพิ่มขึ้น (กรมการแพทย์,2564)
การศึกษาต่อมาพบว่าสารสำคัญกลุ่มแคนาบินอยด์ในกัญชามีฤทธิ์ต่อร่างกายหลายประการ โดยสารสำคัญที่อยู่
ในความสนใจคือ THC ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD ที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปัจจุบันมีผลงานวิจัยชี้แนะ
ว่าสารทั้งสองชนิดสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและอาการแสดงได้หลายชนิด (บังอร ศรีพานิชกุลชัย,2562)
กระทรวงสาธารณสุขมีการอนุญาตให้ใช้ตํารับน้ำมันกัญชาสูตร อ. เดชา ภายใต้ตามรูปแบบพิเศษของการเข้าถึงยา
(Special Access Scheme) ในสถานบริการสุขภาพที่จัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โดยมีสารออกฤทธิ์
Tetrahydrocannabinol (THC) ความเข้มข้น 0.08 mg/drop (2 mg/ml) มีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับ
ช่วยเจริญอาหาร บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง แก้ลมปะกัง (ไมเกรน) และแก้โรคสันนิบาตลูกนก(พาร์กินสัน)
(กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ,2564)
ในปี 2565 คลินิกกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลตรังซึ่งให้บริการแบบผสมผสานแพทย์แผนไทย
และแพทย์แผนปัจจุบัน มีผู้ป่วยรายใหม่ที่มีข้อบ่งใช้ของการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์รวมจำนวน 179 ราย
พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาโดยการสั่งจ่ายตำรับน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา จำนวน 108 ราย ดังนั้น
ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาผลของน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชาต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในคลินิกชา โรงพยาบาลตรัง
เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันประโยชน์ของการใช้น้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากร
ทางการแพทย์และผู้ป่วยต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลของน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในคลินิกกัญชา
ทางการแพทย์ โรงพยาบาลตรัง
วิธีการศึกษา
ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi – Experiment )เพื่อศึกษาผลของ
การใช้น้ำมันกัญชาสูตรอ.เดชาต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ที่เข้ารับบริการในคลินิกกัญชา รพ.ตรัง เป็นเวลา
ต่อเนื่อง 3 เดือน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการรักษา ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 – 31 สิงหาคม 2566
ประชากรคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกกัญชา โรงพยาบาลตรัง ในปีงบประมาณ 2566