Page 711 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 711

S34

                  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชาสูตรอาจารย์เดชาในคลินิกกัญชา

                  โรงพยาบาลตรัง โดยผ่านการตรวจประเมินจากแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทยแล้วว่าควรได้รับ
                  การรักษาด้วยน้ำมันสูตรหมอเดชา ตามข้อบ่งใช้ ทำการรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่

                  1 เมษายน 2566 – 31 สิงหาคม 2566 โดยการเลือกแบบเจาะจง

                  เกณฑ์การคัดเข้า 1. ผู้ป่วยต้องการรับบริการจากคลินิกกัญชา ทางการแพทย์ 2. อายุ 18 ปีขึ้นไป 3. มีข้อบ่งใช้
                  ของการใช้น้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชา และรับการรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน 4. ยินยอมและให้

                  ความร่วมมือในการวิจัย

                  เกณฑ์ในการคัดออก   1. ผู้ป่วยตั้งครรภ์,ให้นมบุตร,มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา 2. ผู้ป่วยโรคหัวใจและ
                  หลอดเลือด,ผู้ป่วยโรคตับ,ผู้ป่วยโรคไตที่รุนแรง,ผู้ป่วยที่รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด,ผู้ป่วย โรคจิตเภท ,

                  โรคจิตจากสารเสพติด,  โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคซึม เศร้า  หรือผู้ป่วยที่มีประวัติ พยายามทำร้ายตนเอง
                  3. รับการรักษาติดต่อกัน ไม่ครบ 3 เดือน

                  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                         ประกอบด้วย ส่วนที่ 1ข้อมูลทั่วไปประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา สถานะ อาชีพ น้ำหนัก ส่วนสูง

                  BMI โรคประจำตัว ข้อบ่งชี้ของอาการ/โรคที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา

                         ส่วนที่ 2 แบบสอบถาม EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทยเป็นเครื่องมือใช้ประเมินคุณภาพชีวิต มีคําถาม
                  ประกอบด้วยมิติทางสุขภาพ 5 ด้าน ในแต่ละด้านให้ผู้ตอบแบบสอบถามทําเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยม

                  ที่ตรงกับสุขภาพของตนเองในวันนี้มากที่สุด คําตอบที่ได้ประกอบด้วยตัวเลขจํานวน 5 ตัว เรียงตามมิติ

                  ทางสุขภาพ โดยเลข 1หมายถึงไม่มีปัญหา, เลข 2หมายถึงมีปัญหาเล็กน้อย, เลข 3หมายถึงมีปัญหาปานกลาง,
                  เลข 4 หมายถึงมีปัญหามาก, และเลข 5 หมายถึงไม่สามารถทํากิจกรรมนั้นได้หรือมีปัญหามากที่สุด

                  คําตอบที่ได้ในส่วนนี้จะนําไปคํานวณ index scores หรือค่าอรรถประโยชน์ และแบบประเมินสภาวะสุขภาพ

                  ทางตรงโดยใช้มาตรวัดแบบ Visual analogue scale (VAS) มีตัวเลข 0 - 10 ซึ่ง 0 หมายถึงสุขภาพแย่ที่สุด
                  10 หมายถึงสุขภาพดีที่สุด

                  การพิทักษ์สิทธิ์ การศึกษานี้ได้ผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการจริยธรรมวิจัย โรงพยาบาลตรัง เลขที่โครงการ
                  012/03-2566 รับรองวันที่ 29 มีนาคม 2566

                  สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้ตอบเรียบร้อยแล้วมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของ

                  ข้อมูลแล้วประมวลผล เบื้องต้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแบ่งการวิเคราะห์ดังนี้
                         1.สถิติพรรณนา (Descriptive statistic)ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                         2.สถิติอนุมาน (Inferential statistic) ได้แก่ Independent t-test , Paired t-test

                  ผลการศึกษา

                         ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษามีผู้ป่วยรายใหม่ได้รับน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา และทำการรักษาต่อเนื่อง
                  ครบ 3 เดือน จำนวน 32 ราย เป็นเพศชายมากถึงร้อยละ 60 กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 56.5 ปี มีผู้ป่วย 2 ราย

                  เคยมีประสบการณ์การใช้กัญชามาก่อน โดยกินเป็นน้ำชา และใช้เป็นน้ำมันหยดใต้ลิ้นโดยหาซื้อมาใช้เอง

                  ทางช่องทางออนไลน์ ข้อบ่งใช้ของการใช้น้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชาส่วนใหญ่ได้แก่ ภาวะนอนไม่หลับร้อยละ 40.6
                  การรักษาแบบประคับประคองร้อยละ 21.8 ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังร้อยละ 12.5 ปวดศีรษะไมเกรนร้อยละ 12.5
   706   707   708   709   710   711   712   713   714   715   716