Page 706 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 706

S29

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         สรุปผลการศึกษา : การศึกษาเพื่อวัดความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับกัญชาในบุคคลที่มีประสบการณ์การ
                  ใช้กัญชาและไม่มีประสบการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยคาดหวังว่า ประชาชนไทยจะมีความรอบรู้

                  สุขภาพเกี่ยวกับกัญชาได้อย่างถูกต้อง และเชี่ยวชาญ ซึ่งจากเกณฑ์แปลผลความรอบรู้สุขภาพ จากกองสุขศึกษา

                  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าเมื่อตอบคำถามได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 60
                  ของคะแนนเต็ม หมายความว่า เป็นผู้ที่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องกัญชา ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตน

                  ( มีความรอบรู้น้อย ) ได้คะแนนอยู่ระหว่างร้อยละ 60-70 ของคะแนนเต็ม หมายความว่า เป็นผู้ที่มีระดับความรอบรู้

                  ด้านสุขภาพ เรื่องกัญชาได้ถูกต้อง( พอใช้ได้ ) ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม
                  หมายความว่า เป็นผู้ที่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องกัญชาได้ถูกต้องและยั่งยืนจนเชี่ยวชาญ ( ดีมาก )

                  จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับของกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์การใช้กัญชา
                  และไม่มีประสบการณ์การใช้กัญชาคิดเป็นร้อยละ 70.37 และ 65.05 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีความรอบรู้

                  สุขภาพเกี่ยวกับกัญชาได้ถูกต้องในระดับพอใช้ โดยเมื่อเปรียบเทียบความรอบรู้เกี่ยวกับกัญชาทางด้านสถิติ
                  พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ใช้กัญชาและไม่มีประสบการณ์การใช้กัญชามีความรอบรู้ที่แตกต่างกัน

                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ยังคงต้องเพิ่มความรอบรู้

                  สุขภาพเกี่ยวกับกัญชาที่เหมาะสม เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม
                        ข้อเสนอแนะ : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายควรให้บุคลากรสุขภาพในแต่ละพื้นที่ควรสร้างโปรแกรม

                  เสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพด้านกัญชาให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีการใช้กัญชาอย่างเหมาะสมในทุกกลุ่มวัย

                  สำหรับข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งถัดไปเนื่องจากงานวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูล


                  เชิงลึกมากยิ่งขึ้น ควรศึกษาเชิงคุณภาพควบคู่ด้วย เช่น การสัมภาษณ์รายบุคคล และงานวิจัยนี้เป็นการสุ่ม
                  กลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมประชากรไทยทั้งประเทศ ดังนั้นในการวิจัยครั้งถัดไปควรกระจาย


                  แบบสอบถามให้กว้างขึ้น จะช่วยให้ได้ทราบข้อมูลที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความรู้เกี่ยวกับ
                  กัญชาในด้านต่างๆให้เหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่
   701   702   703   704   705   706   707   708   709   710   711