Page 122 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 122

B50


                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy)
                  สำหรับประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
                         2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy)

                  สำหรับประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
                         3. เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง
                  (Colonoscopy) สำหรับประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

                  วิธีการศึกษา
                         การพัฒนารูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy)

                  สำหรับประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
                  ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy) สำหรับ
                  ประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี จากแหล่งข้อมูลการให้บริการ/การเก็บ
                  ข้อมูล/โปรแกรม/ผู้รับผิดชอบ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย

                  การส่องกล้อง (Colonoscopy) สำหรับประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก ในพื้นที่เป้าหมาย ขั้นตอนที่ 3
                  นำรูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้องไปใช้ปฏิบัติจริง และประเมินผล
                  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติพรรณนา คือ จำนวน ร้อยละ 2) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
                  ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)

                  ผลการศึกษา

                         ตอนที่ 1 ผลการศึกษาจากแหล่งข้อมูลข้อมูลจากระบบ Health Data Center (HDC) สำนักงาน
                  หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 และมติที่ประชุมการกำหนดพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายที่จะส่งผู้ป่วยมาเพื่อ
                  ส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colonoscopy) เพื่อตอบสนองและสนับสนุนนโยบายมะเร็ง

                  ครบวงจร ครั้งที่ 4/2567 ให้นำผู้ป่วยในจังหวัดอุบลราชธานีที่ตกค้างการทำ Colonoscopy เข้าร่วมในโครงการ
                  คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy) โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ปีงบประมาณ
                  2567 และหากพื้นที่ใดรอคิวนานเกิน 3 เดือน ขอส่งกลุ่มเป้าหมายมาที่ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
                  โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก คือผู้ป่วยตกค้างการทำ Colonoscopy
                  ปีงบประมาณ  พ.ศ.2566 อำเภอตาลสุม จำนวน 56 คน และอำเภอเขื่องใน จำนวน 40 คน  แบ่งกลุ่มปฏิเสธ

                  การส่องกล้องเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. ปฏิเสธการส่องกล้อง 2.แพทย์ให้คำปรึกษาแล้วแต่ผู้ป่วยปฏิเสธ 3. เตรียมเข้าห้อง
                  ผ่าตัดแต่เปลี่ยนใจกะทันหันปฏิเสธการส่องกล้อง ข้อมูลความพร้อมของ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี มีศัลยแพทย์
                  2 ท่าน มีกล้อง Colonoscope 4 ตัว เครื่องกำเนิดแสง จำนวน 2 เครื่อง ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ

                  ดำเนินการส่องกล้องได้ วันละ 6-8 ราย
                         ตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง
                  (Colonoscopy) สำหรับประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก ในจังหวัดอุบลราชธานี ตามกรอบแนวคิดของโด
                  นาบีเดียน (Donabedian, 2003) 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) โครงสร้าง (structure) การจัดบริการตรวจคัดกรอง

                  มะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy) ประกอบด้วย นโยบาย คู่มือในการปฏิบัติงาน เอกสาร
                  ต่างๆ การกำหนดผู้รับผิดชอบ การสนับสนุนด้านทรัพยากร เครื่องมือ การจัดการข้อมูล งบประมาณ
                  ค่าตอบแทน สถานที่ และบุคลากร ที่ชัดเจน มีการนำตัวชี้วัด service plan และองค์ความรู้ทางวิชาการ
                  สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ดำเนินการ

                  แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึงการติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ 2) กระบวนการ (process)
                  ได้แก่ การจัดตั้งคณะทำงานการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ การรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127