Page 126 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 126

C1


                         การศึกษาประสิทธิผลการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช
                                                โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก


                                                                     นายกฤตเมศ ดีสลิด และนางสาวหฤทัยมาศ ลินำ

                                                                       โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก เขตสุขภาพที่ 2
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้น จึงมีความ
                  จำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรอง/คัดแยก (Triage) ซึ่งสภาการพยาบาล (2563) ได้ให้ความหมาย

                  ของการคัดแยกผู้ป่วยว่าหมายถึงการประเมินผู้ป่วยเพื่อการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาพยาบาล
                  ตามลำดับความเร่งด่วนทางการแพทย์ และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่าง
                  มีประสิทธิภาพ การจัดลำดับการบริการ ณ ห้องฉุกเฉิน ของกระทรวงสาธารณสุข (MOPH ED. Triage) สำหรับ
                  โรงพยาบาลต่าง ๆ ใช้ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการคัดแยกต้องได้รับการฝึกอบรม

                  เป็นอย่างดี (Well-trained) และมีการจัดทำแนวปฏิบัติการคัดแยกและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน
                  (Triage policy and procedure) และคาดหวังว่าผู้ป่วยฉุกเฉินควรได้รับการคัดแยกตามเกณฑ์ ไม่สูงหรือต่ำ
                  กว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (Over or under triage) ภายใน 4 นาที มีระยะเวลารอคอยแพทย์ (Waiting time)
                  ที่เหมาะสมตามระดับการคัดแยก (สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2561)

                  จากการศึกษาข้อมูลของโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก พบว่าในปี พ.ศ. 2565 จากสถิติข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุ
                  ฉุกเฉินที่มารับบริการ ผู้ป่วยที่ถูกคัดแยกที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชจำนวน 17,068 ราย พบว่า มีการคัดแยก
                  ผิดประเภทในผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินวิกฤตและฉุกเฉินเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 32.88 จึงคิดว่าการคัดแยกเป็น

                  จุดเริ่มต้นของกระบวนการและเป็นจุดสำคัญที่ต้องแก้ไขเป็นอันดับแรก ผู้วิจัยในฐานะหัวหน้างานการพยาบาล
                  ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จึงต้องการพัฒนาแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินตามความรุนแรงและความ
                  เร่งด่วนให้เหมาะสมกับบริบทงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก
                  และประเมินประสิทธิผลของแนวทางที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปปรับใช้จริงในหน่วยงานต่อไป โดยใช้กรอบแนวคิด
                  ทฤษฎีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการคัดกรองและดูแลผู้ป่วย


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินตามแนวทาง MOPH.ED. Triage

                         2. เพื่อศึกษาปัญหาการคัดแยกผู้ป่วยของบุคลากรในการคัดแยกผู้ป่วย ตามหลัก MOPH.ED. Triage
                         3. เพื่อพัฒนาประสิทธิผลของบุคลากรในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดคัดกรองห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
                  และนิติเวช

                  วิธีการศึกษา

                         งานวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เพื่อศึกษา
                  ผลการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพและเวชกิจฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและ
                  นิติเวชโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2566 - 30 พฤศจิกายน 2566 เก็บข้อมูลจาก
                  ข้อมูลการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพและเวชกิจฉุกเฉินผ่านฐานข้อมูลผู้ป่วยในระบบ HosXp ของผู้ป่วย

                  ที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131