Page 119 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 119
B47
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งที่มีไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาว
ชนิดนิวโตรฟิลต่ำหลังได้รับยาเคมีบำบัด
ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
นาวาอากาศเอกหญิง ชุติมา อุปัชฌาย์ นาวาอากาศโท สรพงษ์ มัณยานนท์
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตสุขภาพที่ 13
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาวะไข้ร่วมกับมีเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลต่ำ (febrile neutropenia) เป็นภาวะฉุกเฉินทางมะเร็ง
วิทยา ซึ่งมักเกิดหลังจากการได้รับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพิ่มโอกาสการติดเชื้อรุนแรง หากรักษาล่าช้า
อาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากมาย ปัจจุบันมี MASCC score และ CISNE score ที่เป็นมาตรฐาน
การประเมินผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา แต่ยังมีข้อจำกัดในการใช้ การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาอัตรา
การเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไป
พัฒนาสร้างเป็นแบบประเมินโอกาสเสี่ยงที่มีมาตรฐาน และหาแนวทางการป้องกันในปัจจัยที่สามารถควบคุมได้
ต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งที่มีไข้ร่วมกับมีเม็ดเลือดขาวชนิด
นิวโตรฟิลต่ำหลังได้รับยาเคมีบำบัด
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังด้วยการทบทวนเวชระเบียนโดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียน
ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลต่ำ
หลังได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 ถึง
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานประชากร อัตราการเกิดและปัจจัยที่ทำให้
เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ลักษณะของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอัตราการตาย มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษา
มีจำนวนครั้งการมาโรงพยาบาล (Admissions) ที่เข้าเกณฑ์ถูกคัดเลือกเข้ามาทำการศึกษาทั้งสิ้น 130 ครั้ง
จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 90 คน โรคมะเร็งที่พบเป็นสาเหตุหลักของภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลต่ำ
คือ มะเร็งทางโลหิตวิทยาร้อยละ 69.2 รองลงมาคือมะเร็งชนิดชนิดก้อน รวมกันร้อยละ 30.8 โดยพบในระยะ
ลุกลามมากกว่าระยะไม่ลุกลาม (คิดเป็นร้อยละ 51.1 และ 48.9 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า
อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเท่ากับร้อยละ 42.3 (95%CI: 33.8 - 50.8) โดยพบว่ามีสาเหตุจากการ
ติดเชื้อในกระแสเลือดมากที่สุด จากผลการศึกษาพบว่าอัตราการเสียชีวิตเท่ากับร้อยละ 14.4 โดยสาเหตุ
ทั้งหมดของการเสียชีวิตมาจากการติดเชื้อที่รุนแรงและการมีระบบอวัยวะภายในร่างกายต่างๆ ล้มเหลว
เฉียบพลัน (multiorgan failure)