Page 117 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 117

B45




                  ผลการศึกษา
                         การประเมินผล Web application ด้วยประเด็นของ ง่าย มันส์ และดี
                         4.1 ง่าย แค่มี Smart phone และ Internet
                         4.2 มันส์ จำนวนผู้ใช้บริการผ่าน Web application จำนวน 11,162 คน (เวลา 4 เดือน) เป็น

                  สิทธิบัตรทอง 7,587 คน ประกันสังคม 1,966 คน ข้าราชการ 1,071 คน รัฐวิสาหกิจ 31 คน อื่นๆ 507 คน
                  พบผู้ที่มีอาการเตือนมะเร็งเต้านม 194 คน (2%) ผู้ที่ไม่มีอาการ 10,968 คน (98%) การประเมินความรู้
                  เกี่ยวกับอาการเตือนมะเร็งเต้านม พบว่า ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำ 63.75% ปานกลาง 18.12% และระดับสูง

                  มีเพียง 18.12%
                         4.3 ดี ทุกคนทำเองได้ (เป็นหมอของตัวเอง) ผู้ที่มีอาการเตือนมะเร็งเต้านม 6 อาการ เมื่อบันทึกข้อมูล
                  ผ่าน Web application จะมีระบบแจ้งเตือนไปยัง Admin ทันที เพื่อนัดเข้ารับบริการ และทุกคนเข้ารับ
                  บริการเสร็จภายใน 4 สัปดาห์

                  อภิปรายผล

                         Web application ทางด่วนมะเร็งเต้านม โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการทำงาน เพื่อปิด Gap
                  การทำงานที่ผ่านมา ในการตรวจเต้านม “แบบคัดแล้วกอง” ผลการดำเนินงานดีขึ้นแบบง่าย มันส์ ดี และมีระบบ
                  การแจ้งเตือน ทุกคนสามารถเป็นหมอของตัวเองได้ ตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (Rogers, 1983)
                  การสื่อสารที่กระตุ้นความกลัว จากสิ่งแวดล้อม และภายในบุคคล เป็นตัวริเริ่มหรือชักนำให้เกิดกระบวน

                  การประเมินทางปัญญา (Cognitive appraisal processes) บุคคลจะเกิดการประเมินภาวะคุกคาม (Threat
                  appraisal) ประเมินการรับมือและการเผชิญสิ่งคุกคาม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะคุกคาม (Coping appraisal) ที่ก่อ
                  เกิดแรงจูงใจในการป้องกันโรค และนำไปสู่การริเริ่มพฤติกรรม การคงไว้ และการจัดการควบคุมพฤติกรรม

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การใช้ Web application มีผู้เข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่มีอาการเตือนมะเร็งเต้านมรับบริการ

                  ภายใน 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่ง (50.70) มีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง น้อยกว่า 1
                  ครั้งต่อเดือน และส่วนใหญ่ยังขาดทักษะตรวจเต้านมที่ถูกต้อง ขณะที่การตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และ
                  การตรวจเต้านมที่ถูกต้อง สัมพันธ์กับการพบอาการเตือนมะเร็งเต้านม 6 อาการ ซึ่งจะต้องมีการเฝ้าระวัง

                  ติดตาม และกระตุ้นการตรวจเต้านมอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง ในสถานการณ์ภาวะคุกคามจากปัจจัยภายนอก
                  โดยเฉพาะแก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ ส่งผลต่อการใช้ Web application

                   ข้อเสนอแนะ:
                         1. การแก้ปัญหาภาวะคุกคามจากแก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ หรือโทรไปแล้วไม่รับสาย ทีมงานควร
                  เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ผ่านผู้บริหาร ฝ่ายบุคคลหรือผู้จัดการบริษัท รวมทั้งการแจ้งเบอร์ผู้รับผิดชอบ

                  โครงการ และ Admin ที่จะโทรนัดบริการให้กับกลุ่มที่มีอาการเสี่ยง 6 อาการ
                         2. ใส่ Clip การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ใน Web app
                         3. พัฒนาสื่อให้เป็นภาษาท้องถิ่นมากขึ้น
                         4. ประชากรบางกลุ่ม ยังขาดความชำนาญด้านการใช้ Smart phone ต้องส่งเสริมให้บุคลากร รพ.สต.

                  เป็นพี่เลี้ยง
                         5. ส่งเสริมการใช้ Web app ผ่าน influencer คนสำคัญ เช่น ดารา นักร้อง ระดับชาติ เพื่อสร้าง
                  ความตระหนักรู้มะเร็งเต้านมอย่างครอบคลุม
                  ความกลัวปัญหาการดูดเงิน
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122