Page 123 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 123

B51


                  ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ได้แก่ การจัดนิทรรศการความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จัดเวทีเสวนา

                  ผ่านสื่อออนไลน์และสำนักข่าวท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความรู้และลดความวิตกกังวลของประชาชน จัดทำโครงการ
                  คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy) โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ปีงบประมาณ
                  2567 กลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 50-70 ปี จำนวน 72-720 ราย เพื่อเป็นการเฉลิมพระชนมพรรษา

                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา กำหนดระยะเวลาตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงกรกฎาคม 2567 ระบบ
                  บริการเพื่อรองรับการดำเนินงาน กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ บริการรถตู้รับส่งผู้รับบริการและผู้ดูแล
                  โดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเดินทางไปด้วย 1 คน หอผู้ป่วยในได้เตรียมห้องสำหรับ Admit จำนวน 5 ห้อง
                  ต่อวัน  ให้บริการการส่องกล้องวันอังคาร-วันศุกร์ จำนวน 4-5 คน วันเสาร์ 8-10 คน โดยให้ผู้ป่วยนอนพัก

                  ในโรงพยาบาลก่อน 1 คืน หลังจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน 24 ชั่วโมง พยาบาลห้องผ่าตัดจะติดตามสอบถามอาการ
                  ทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจสามารถฟังผลด้วยตนเอง หรือรับแจ้งผลทางบริการการแพทย์
                  ทางไกล DMS Telemedicine หรือ Line official และติดตามสอบถามความพึงพอใจภายหลังการรับบริการ
                  ทางโทรศัพท์

                             ตอนที่ 3 นำรูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้องไปใช้ปฏิบัติจริง
                  อำเภอตาลสุม และอำเภอเขื่องใน ได้ลงพื้นที่ชี้แจงนโยบายการดำเนินงานตามโครงการ นำคณะแพทย์ไปพบ
                  ประชาชน ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบบริการ ร่วมกับศัลยแพทย์, วิสัญญีแพทย์, พยาบาลวิชาชีพ
                  นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผลการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 17 เมษายน ถึง 17 พฤษภาคม

                  2567 มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย FIT Test มีผลเป็นบวก อำเภอตาลสุม จำนวน 56 ราย และอำเภอเขื่องใน จำนวน
                  40 ราย รวม 96 ราย นัดส่องกล้อง อำเภอตาลสุม จำนวน 48 ราย และอำเภอเขื่องใน จำนวน 34 ราย รวม 82 ราย
                  คิดเป็นร้อยละ 85.41 ได้รับการส่องกล้อง อำเภอตาลสุม จำนวน 38 ราย และอำเภอเขื่องใน จำนวน 29 ราย
                  รวม 67 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.79 ของกลุ่มเป้าหมาย เทียบกับตัวชี้วัด service plan รวมทั้งสองพื้นที่

                  ผ่านเกณฑ์ กลุ่มเป้าหมายที่ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา ๒๖ ราย ในจำนวนนี้พบว่ามี ๒ ราย ที่ผลตรวจ
                  ชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง คิดเป็นร้อยละ 2.08 ผลตรวจผิดปกติอื่น 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.7 ของกลุ่มเป้าหมาย
                  FIT Test มีผลเป็นบวก ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งได้เข้ารับการรักษาตามมาตรฐานต่อไป ผู้ป่วยปฏิเสธการส่องกล้อง
                  15 ราย ด้วยเหตุผลทางคลินิกเกี่ยวกับโรคประจำตัว และเหตุผลทางสังคม ได้แก่ เป็นช่วงเวลาเริ่มทำนา ผู้ดูแล

                  ไม่ต้องการให้ตรวจ ไม่สะดวกเดินทางไปเจาะเลือดที่ รพช. ไม่มีญาติมาเฝ้า โดยกลุ่มเป้าหมายบางรายจะรับ
                  การตรวจที่โรงพยาบาล 50 พรรษา ตามเดิม การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
                  และไส้ตรง (Colonoscopy) โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2567 โทรศัพท์ 36 ราย มีความพึงพอใจ

                  มาก ชื่นชมบริการเรื่อง การเดินทางสะดวก เนื่องจากมีรถรับส่ง เจ้าหน้าที่ให้บริการดีทุกจุดบริการ
                  อภิปรายผล การพัฒนารูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy)

                  สำหรับประชาชนที่ FIT Test มีผลเป็นบวก กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาตามกรอบแนวคิดของ
                  โดนาบีเดียน มีส่วนช่วยสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย
                  การส่องกล้องมากขึ้น เริ่มจากการกำหนดนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่

                  มีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน การให้ความรู้ให้คำปรึกษา การจัดการทรัพยากรและกระบวนการต่างๆ
                  การลดระยะเวลารอคอยในทุกหน่วยบริการ รวมถึงการจัดกิจกรรมที่หน่วยบริการสามารถทำได้ เช่น
                  การจัดบริการรถรับส่ง การเตรียมห้องพักอำนวยความสะดวก และการปฏิบัติการรักษาพยาบาลตั้งแต่
                  ก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังตรวจ และมีการปรับปรุงกระบวนการตามสถานการณ์และเงื่อนไขทางประชากร

                  และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากการติดตามความก้าวหน้าของโครงการอยู่สม่ำเสมอ ทำให้ผู้ป่วยพึงพอใจ
                  รู้สึกปลอดภัย และสามารถเป็นผู้สื่อสารประชาสัมพันธ์การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง
                  ให้ขยายผลในพื้นที่อื่นๆได้ต่อไป
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128