Page 165 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 165
C40
การจัดการพิสูจน์อัตลักษณ์ในงานนิติเวช กรณีศึกษาอุบัติภัยหมู่พลุระเบิด
โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จากสถานการณ์พลุระเบิด ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
นายจรุงวิทย์ ปลื้มเปรมจิตร, นางสาวสุดานันท์ แสงกาศนีย์ และคณะผู้วิจัย
โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น แผนอุบัติภัยหมู่โรงพยาบาลพื้นที่เกิดเหตุต้องมีความพร้อมในทุกภาคส่วน
ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ส่งผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน
สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ของประชาชนในวงกว้าง บางครั้งก็เกินขีดความสามารถของหน่วยงานปกครอง
ท้องถิ่นที่จะจัดการได้ด้วยตนเอง
กรณีเหตุการณ์พลุระเบิด วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ที่ตำบลมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ที่มีรัศมี
ที่คาดไม่ถึงส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ที่คาดไม่ถึง เนืองจากไม่เป็น
สถานการณ์ในการประเมินการเกิดภัยในพื้นที่ ในเวลาที่เกิดเหตุยังเป็นช่วงเวลากลางวันที่สะดวกต่อการบริหาร
จัดการหลังเกิดเหตุ ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้บาดเจ็บ ณ เวลานั้นที่เข้ามารับการรักษา 100 รายและผู้เสียชีวิต
9 ศพ และชิ้นส่วนร่างกายที่ไม่สามารถระบุบุคคลได้ที่ทยอยมา จำนวน 20 ชิ้น จึงเป็นหน้าที่และงานที่ต้องมี
การดำเนินการในเชิงนิติเวช ด้านการพิสูจน์อัตลักษณ์เพื่อส่งคืนศพและญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตในความสั่นคลอน
ของเหตุการณ์ที่มีผลต่อจิตใจของคนหมู่มากและเป็นกระแสทางสื่อเพื่อให้ได้ความมั่นใจของการดูแล
ด้านสาธารณสุขในพื้นที่พหุวัฒนธรรมที่เป็นประเด็นละเอียดอ่อนของพื้นที่
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาและนำมาเป็นบทเรียนในการกำหนดแนวทางในพื้นที่ในการพิสูจน์อัตลักษณ์ในงานนิติเวช
เมื่อเกิดสาธารณภัย
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาย้อนหลังในการพิสูจน์อัตลักษณ์โดยใช้แนวทางการจัดการศพจำนวนมากในกรณีภัย
พิบัติ กระทรวงสาธารณสุข จากการทบทวนกรณีศึกษานี้ มีการดำเนินการคือ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล และตัวอย่างก่อนส่งตรวจ วิเคราะห์ (Pre-DNA analytical process) โดยได้
ข้อมูลจาก ข้อมูลผู้สูญหาย (Ante mortem data) และข้อมูลจากการตรวจศพ (Postmortem data) โดยให้
หมายเลขลำดับข้อมูล (Numbering) และการส่งต่อและการจัดการข้อมูล (Tracking and chain of custody)
2. การเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ (Material handling) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 ตัวอย่างเซลล์ของผู้เสียชีวิตเองก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติ และตัวอย่างเซลล์เนื้อเยื่อจาก
ครอบครัวผู้เสียชีวิต (Ante mortem specimens) ซึ่งใช้ข้อนี้ไม่ได้
2.2 ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากผู้เสียชีวิต (Postmortem specimens) การเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ
จากศพ โดย 1) ใช้เลือดประมาณ 10 มิลลิลิตร เก็บใส่หลอดที่ได้รับการติดฉลาก ภายในใส่สารป้องกันเลือด
แข็งตัว และกล้ามเนื้อ ในส่วนที่ไม่มีการปนเปื้อน 2) ศพที่อยู่ในสภาพถูกเผา หรือ 3) ในกรณีที่ศพยังถูกเผา
ไม่หมด เลือกเก็บกล้ามเนื้อในส่วนที่อยู่ลึกที่สุดของร่างกาย และเลือดที่อยู่ภายในหัวใจ
3. การเก็บรักษาสภาพของสิ่งส่งตรวจ (Preservation) ในการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA analysis)
โดยเก็บสิ่งส่งตรวจในข้อ 2 ไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เพื่อดำเนินการ