Page 163 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 163

C38


                                   mild head injury พัทลุงควนขนุนร่วมใจดูแลคนไข้ร่วมกัน


                                                                                     แพทย์หญิงสศิริ  ดิลกธราดล
                                                                    โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง เขตสุขภาพที่ 12

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         เนื่องจากจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่บนถนนสายเอเชียทำให้พัทลุงมีปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุจารจร
                  เป็นจำนวนมาก และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจารจร มักจะพบว่ามี ปัญหา เรื่องการบาดเจ็บสมอง
                  ระดับเล็กน้อยร่วมด้วยเสมอ (mild head injury) เนื่องจากในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับ
                  ความเสี่ยงระดับกลาง (moderate risk) จะต้องถูกส่งต่อมา เพื่อทำ CT brain ที่โรงพยาบาลพัทลุง ซึ่งทำให้เกิด
                  ความแออัดในห้องฉุกเฉิน และรวมทั้งทำให้อัตราครองเตียงใน ward ศัลยกรรมระบบทางเดินประสาท

                  สูงถึงร้อยละ120 - 130 ต่อเดือน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         ลดจำนวนผู้ป่วย mild head injury ที่รับ refer จากโรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้ลดความแออัดในห้อง
                  ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพัทลุง

                  วิธีการศึกษา

                         1. เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการรับ refer case mild head injury ให้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาล
                  พัทลุง และโรงพยาบาลชุมชน โดยตกผลึกร่วมกันในการแบ่งปันทรัพยากร เนื่องจากปัจจุบัน CT scan
                  ในจังหวัดพัทลุง มีอยู่สองที่ คือที่โรงพยาบาลพัทลุง และโรงพยาบาลควนขนุน โดยเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาล
                  ชุมชนที่อยู่ใกล้โรงพยาบาลควนขนุน นั้นคือ โรงพยาบาลป่าพะยอม และโรงพยาบาลศรีบรรพต

                            2. ประสานความร่วมมือ ระหว่าง ศัลยแพทย์ระบบทางเดินประสาท นายแพทย์ริซกี โดยิ ซึ่งมีความ
                  ตั้งใจที่พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยทางระบบประสาท และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ทั้ง 3 โรงพยาบาล
                  คือโรงพยาบาลควนขนุน โรงพยาบาลศรีบรรพต และโรงพยาบาลป่าพะยอม โดยมีการประชุม ในวันที่
                  17 มีนาคม 2567 เพื่อกำหนดแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยบาดเจ็บสมองเล็กน้อย ความเสี่ยงปานกลาง ให้ส่งต่อ

                  จากโรงพยาบาลศร๊บรรพต และโรงพยาบาลป่าพะยอม ที่มีเฉพาะ mild head injury moderate risk มาที่
                  โรงพยาบาลควนขนุน ซึ่งในที่ประชุมประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพัทลุง ศัลยแพทย์
                  ระบบทางเดินประสาท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ทั้ง 3 โรงพยาบาล รวมทั้งตัวแทนแพทย์ในโรงพยาบาล
                  ควนขนุน 3 ท่าน และหัวหน้าพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลควนขนุน


                  ผลการศึกษา
                         ใน case mild head injury ที่จากเดิมโรงพยาบาลควนขนุน จะต้องส่งต่อมาโรงพยาบาลพัทลุง
                  เป็นปัจจุบันในกรณีของ mild head injury สามารถ CT brain และ admit ที่โรงพยาบาลควนขนุนได้
                  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลังจาก วันที่ 17 มีนาคม 2567 mild head injury moderate risk
                  จากโรงพยาบาลศรีบรรพต และโรงพยาบาลป่าพยอมส่งต่อ โรงพยาบาลควนขนุน


                  อภิปรายผล
                         การที่ รพ.ควนขนุน ไม่ต้อง refer case mild head injury ให้ลดความแออัดของโรงพยาบาลพัทลุง
                  และเป็นการเพิ่มค่า CMI ให้แก่ โรงพยาบาลควนขนุน รวมทั้งระบบการส่งต่อจากโรงพยาบาลศรีบรรพต และ
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168