Page 223 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 223
E32
วิธีการศึกษา
2. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา
3. พัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลโคกสำโรง ปี 2565
ประกอบด้วย
3.1 แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดภาวะขาดสุรา เนื่องด้วยผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลมี
จำนวนมากแต่ละคนมีปริมาณและความถี่ในการดื่มสุราไม่เท่ากัน ความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสุราจึงไม่
เท่ากัน ไม่ทราบว่าจะเกิดภาวะขาดสุรากับผู้ป่วยรายใด แบบประเมินนี้จะช่วยให้พยาบาลสะดวกต่อการเฝ้าระวัง
ผู้ป่วยว่าผู้ป่วยรายใดเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสุรา
3.2 แบบประเมินความรุนแรงของภาวะขาดสุรา (ALCOHOL WITHDRAWAL SCALE :AWS)
3.3 แบบบันทึกคำสั่งแพทย์สำหรับผู้มีภาวะขาดสุราโรงพยาบาลโคกสำโรง (Standing Order
for Alcohol Withdrawal Syndrome) ซึ่งได้จากการสรุปองค์ความรู้และนำข้อมูลดังกล่าวปรึกษาอายุร
แพทย์ประจำโรงพยาบาลโคกสำโรง และจิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลพระนารายณ์
4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา ฝึกการใช้แบบประเมิน
ความเสี่ยงการเกิดภาวะขาดสุรารุนแรง และแบบประเมินความรุนแรงของภาวะขาดสุร า
(ALCOHO:WITHDRAWAL SCALE) แก่เจ้าหน้าที่พยาบาลตึกผู้ป่วยใน
5. นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้กับผู้ป่วยในที่เป็นผู้ป่วยติดสุรา จำนวน 5 ราย และนำมาปรับปรุงแก้ไข
ร่วมกันกับบุคลากร พยาบาล แพทย์ จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยติดสุราตั้งแต่ มกราคม 2565
6. เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับผู้ป่วยใน โดยเก็บ
ข้อมูลย้อนหลังผู้ติดสุราทุกรายที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลช่วงปี 2565-2566
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับผู้ป่วยในของโรงพยาบาลโคกสำโรง
พบว่า ปี 2565-2566 มีผู้ป่วยที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคทางกายและเป็นผู้ติดสุรา (F1020
Alcohol Dependence) เท่ากับ 99, 94 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 91.91, 93.62 เพศหญิงร้อยละ 8.08, 6.38
หลังจากใช้แนวปฏิบัตินี้ดูแลผู้ป่วยติดสุรา พบว่า ผู้ป่วยติดสุราเกิดภาวะขาดสุราลดลงกว่าปี 2563-2564 โดย
ภาวะขาดสุรา(F1030 Alcohol, Withdrawal state, Uncomplicated) ลดลงจากร้อยละ 32.47, 26.21 เหลือร้อย
ละ 20.20,20.01 เกิดภาวะขาดสุรารุนแรง (F1031 Alcohol, Withdrawal state, With convulsions) ลดลง
จากร้อยละ 5.19, 6.90 เหลือร้อยละ 1.01, 4.25 และเกิดภาวะขาดสุราแบบเพ้อ สับสน (F1040 Alcohol,
Withdrawal state with delirium) ลดลงจากร้อยละ 2.60, 2.76 เหลือ ร้อยละ 2.02, 0 ตามลำดับ
อภิปรายผล
ผลการศึกษา พบว่า หลังนำแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับผู้ป่วยในของโรงพยาบาล
โคกสำโรงมาใช้ ช่วยให้สามารถคัดกรองและเฝ้าระวังผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดสุราได้ครอบคลุมขึ้น สามารถ
ประเมินภาวะขาดสุราและให้การดูแลรักษาผู้มีภาวะขาดสุรารวดเร็วเหมาะสมขึ้น ผู้ป่วยติดสุราเกิดภาวะขาด
สุรารุนแรงและเกิดภาวะขาดสุราแบบเพ้อ สับสนลดลง เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก พบว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะขาด
สุรารุนแรง 5 ราย และเกิดภาวะขาดสุราแบบเพ้อ สับสน 2 ราย เกิดจากการประเมินระดับความรุนแรงของ
ภาวะขาดสุรา(AWS) ผิดพลาด ประเมินระดับความรุนแรงของภาวะขาดสุราต่ำกว่าความเป็นจริง จึงทำให้การ
ดูแลรักษาล่าช้า ไม่ตรงกับระดับความรุนแรงของภาวะขาดสุรา อีกทั้งพยาบาลได้ให้ข้อมูลว่ายังคงมีแพทย์
บางส่วนยังไม่มั่นใจในการให้การรักษาตามแนวปฏิบัตินี้ ซึ่งปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญในการดูแลผู้ติดสุราคือ