Page 225 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 225

E34

                   การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V)

                                         แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระยอง ปี 2567


                                                                              แพทย์หญิงอรอุมา ประสงค์สำเร็จ
                                                                 โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                           ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด
                  (Severe Mental Illness-High Risk to Violence ; SMI-V) จากข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มี
                  ความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ผู้ป่วยจิตเวชในปี 2566 มีจำนวน 2,558,243 คน มีผู้ป่วยจิต

                  เวชเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง สะสมในปี 2559 - 2566 จำนวน 43,881 คน และเป็นผู้ป่วยรายใหม่
                  จำนวน 16,688 คน (กรมสุขภาพจิต,2567)
                         ข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) สะสมที่มารับบริการ

                  โรงพยาบาลระยอง ปีงบประมาณ 2559-2566 จำนวน 159 คน รายใหม่ปี 2567 (1 ตุลาคม 2566-31
                  มีนาคม2567) จำนวน 104 คน พบว่าคนเดิมที่สะสมถึงปัจจุบัน ก่อความรุนแรงซ้ำ ในปี 2567 จำนวน 49
                  คน
                         จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและ

                  มีแนวโน้มที่จะก่อความรุนแรงซ้ำ จึงมีความจำเป็นในการติดตามผลการรักษาเพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยจิต
                  เวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) อย่างมีคุณภาพ เกิดความร่วมมือระหว่าง
                  สหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ใน

                  โรงพยาบาลระยอง
                         2. เพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) หลังออก
                  จากโรงพยาบาล (ระยะเวลา 28 วัน)

                  วิธีการศึกษา
                         1. วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ โดยศึกษาฐานข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อ

                   การก่อความรุนแรง (SMI-V) ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                         2. ประชุมคณะทำงานทีมนำทางคลินิก (Patient Care Team: PCT) เพื่อดำเนินการและติดตาม
                   การดำเนินงานทุก 2 เดือน

                         3. เสนอคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐานโรงพยาบาลระยองเพื่อเป็นแนวทาง
                  ปฏิบัติในโรงพยาบาลระยองและขยายผลในทีม
   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230