Page 227 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 227
E36
เสพติดมากที่สุด จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 76.19 ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย < 7 วันและ
7-14 วัน พบมากที่สุด จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 85.1 พบว่าจำนวนคนที่เข้ารับการรักษาซ้ำในโรค
เดิมที่แผนกผู้ป่วยใน หลังออกจากโรงพยาบาลภายใน 28 วัน (Readmission) ช่วง 0-14 วัน พบมากที่สุด
จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 จำนวนผู้ป่วยที่กลับมาพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษา 2 สัปดาห์หลัง
ออกจากโรงพยาบาล (Follow up) พบมากที่สุด จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 73.80 สาเหตุที่ไม่มาตาม
นัดเนื่องจากผู้ป่วยมีญาติรับกลับต่างจังหวัด ปฏิเสธการรักษาและติดตามไม่ได้ (ผู้ป่วยเร่ร่อน)
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) หลังออก
จากโรงพยาบาล (ระยะเวลา 28 วัน) จำนวน 126 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ อายุ 25 ปีขึ้นไป มี
ประวัติเสพยาเสพติดและโรคจิตเวช ครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย จากการติดตามอาการผู้ป่วย
สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุม ไม่มีอาการกำเริบซ้ำ ไม่ขาดยา ไม่ก่อความรุนแรงซ้ำทั้งต่อตนเองและ
ผู้อื่น ในการติดตามการรักษามีทีมพี่เลี้ยงและทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลระยอง ประสานส่งต่อกับ
ผู้จัดการรายกรณี (Case manager) ร่วมกับทีมสหวิชาชีพซึ่งประกอบไปด้วยผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต ยา
เสพติดและงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลทุกแห่ง และเครือข่ายในพื้นที่ติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง หลัง
ออกจากโรงพยาบาลเพื่อประเมินผลการรักษา เฝ้าระวังความเสี่ยงและการส่งต่อ
ข้อเสนอแนะ จัดประชุมร่วมกับทีมเครือข่ายสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และควรมีทีมในชุมชนร่วม
ค้นหาและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เคยได้รับการรักษาทุกอำเภอเพื่อการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง
และพัฒนานวัตกรรมในการบริหารจัดการผู้ป่วยจิตเวชคลุ้มคลั่งในระดับจังหวัดต่อไป