Page 228 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 228
E37
การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
Developing guidelines for Psychiatric Patients' home Visits with Community
Participation Center.
นางญภา ภัคฐิติพันธ์, นางสิรินทร เลิศคูพินิจ
โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
การสำรวจของสหรัฐอเมริกาพบว่า ความชุกของประชากรโรคจิตเวชรุนแรง (Serious Mental
Illness : SMI) คิดเป็นร้อยละ 4.1 ของประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป พบผู้ป่วยนิติจิตเวชมากถึง 3 เท่า
(National Survey on Drug Use and Health, 2012) และพบผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อ
ความรุนแรงถึงร้อยละ 27.6 สำหรับประเทศไทยมีความชุกชั่วชีวิต (lifetime prevalence) ประมาณร้อยละ
0.5 - 1.0 ของประชากรทั่วไป ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีโอกาสอาวะลาด ทำร้ายตนเอง ได้แก่ โรคจิตเภท
ติดแอลกอฮอล์ โรคซึมเศร้า ติดสารเสพติด และพยายามฆ่าตัวตายพบร้อยละ 51 หรือ 1,372,201 ครั้ง ของ
โรคจิตเวชทั้งหมด (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2562) ผู้ป่วยจิตเวชจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น
เกินความสามารถของครอบครัว/ ชุมชนในการควบคุมดูแลช่วยเหลือ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ ผู้ป่วยจิตเวช
มักจะไม่รับประทานยา หรือมีปัจจัยเสี่ยงจากการใช้สารเสพติด จึงทำให้ผู้ป่วยขาดการรักษาต่อเนื่อง และ
ประกอบกับขาดระบบการติดตามดูแลต่อเนื่องในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ (กรมสุขภาพจิต, 2563) ซึ่งภาครัฐได้
มีนโยบายให้หน่วยบริการทุกแห่ง มีระบบดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่มีเสี่ยงรุนแรง ให้ได้รับการดูแลรักษาอย่าง
เข้มข้น ติดตามเฝ้าระวัง ป้องกันอาการกำเริบ หรือก่อความรุนแรงซํ้าอย่างต่อเนื่อง และการจัดระบบการดูแล
รักษาติดตามในชุมชน (กรมสุขภาพจิต, 2559)
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชลบุรี (ศสม.) เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิของ รพ.ศูนย์ชลบุรี ภาระงานของ
พยาบาลกลุ่มงานการพยาบาลชุมชน ในหนึ่งภารกิจคือ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชที่เรื้อรังในชุมชน และผู้ป่วย
จิตเวชที่มีประวัติการใช้สารเสพติด โดยจากการสัมภาษณ์พยาบาลถึงปัญหาที่พบในงานพบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วย
จิตเวชที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงไม่มีหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือ และยังพบว่า รูปแบบการเยี่ยมบ้าน
ผู้ป่วยจิตเวชยังขาดความชัดเจน การใช้แบบประเมินความรุนแรง แบบบันทึกที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
จากการสัมภาษณ์ญาติผู้ป่วยจิตเวชประเด็นเรื่องปัญหาของผู้ป่วยจิตเวช และความต้องการจากพยาบาลพบว่า
รู้สึกกลัวผู้ป่วยจิตเวช ต้องการให้พยาบาลช่วยเหลือในการดูแลที่บ้าน และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องใน
ชุมชน พบว่า ยังขาดความรู้ในผู้ป่วยจิตเวช การจัดการส่งต่อเมื่อพบความเสี่ยงที่เป็นอันตราย ผู้วิจัยในฐานะผู้มี
ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และปฏิบัติงานพยาบาลเยี่ยมบ้าน จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาแนว
ปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช (กรมสุขภาพจิต, 2559 ,2563) แบบมีส่วนร่วมในชุมชน (Cohen & Uphoff,
1980) เพื่อให้คนในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมดูแล เผ้าระวังร่วมกับพยาบาลเยี่ยมบ้านเป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
ขณะเยี่ยมบ้าน ลดความรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน
อย่างต่อเนื่อง PDCA (Deming, 2000) ส่งผลให้มีแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
พยาบาลเยี่ยมบ้านมีความรู้การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน และญาติผู้ป่วยจิตเวชมี