Page 28 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 28
A4
GLEAN (GREEN & LEAN) CATH LAB, TRASH HERO PROJECT
นายแพทย์พลพรรธน์ อยู่สวัสดิ์
โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลหัวหิน เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S มีวิสัยทัศน์และพันธกิจสำคัญที่เกี่ยวข้อง
ด้านโรคหัวใจ เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย รับส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ใกล้เคียง
มีห้องสวนหัวใจ เป้าหมายการทำหัตถการฉีดสีวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram, CAG)
ประมาณ 2,000 รายต่อปี กระบวนการ (เดิม) ภายหลังจากที่แพทย์ได้ทำการนัดหมาย เพื่อทำหัตถการ
สวนหัวใจ ผู้ป่วยต้องนอน (admit) โรงพยาบาลหัวหิน เป็นระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ประกอบด้วย วันที่ 1
ผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลหัวหินเพื่อทำการตรวจ Pre Cath Investigations (ตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เอ็กเรย์) วันที่ 2 เป็นวันทำหัตถการ และวันที่ 3 กลับบ้าน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลหัวหินเฉพาะในส่วนการนอนโรงพยาบาลและการตรวจเตรียมตัว ประมาณ 8,000 บาท
ต่อคน จำแนกเป็น Inpatient Admission Cost 3 วัน รวม 6,000 บาท (คิด 2,000 บาทต่อวันต่อคน)
และ Investigations Cost 2,000 บาทต่อคน ด้านการใช้วัสดุทางการแพทย์สิ้นเปลือง พบว่า ต่อ 1 ราย
ใช้ Syringe 5 อัน น้ำเกลือ Normal Saline แบบ Injection 500 มิลลิลิตร แบบ Irrigation 500 มิลลิลิตร
ถุงขยะแดง 1 ใบ (นอกจากนี้ เป็นวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ตามมาตรฐานการทำหัตถการ) พบว่า ก่อให้เกิดขยะ
ทางการแพทย์จำนวนมหาศาล โดยขยะพลาสติกเหล่านี้กว่าจะย่อยสลาย ต้องใช้เวลานานถึง 400 ปี กล่าวได้ว่า
การสวนหัวใจฉีดสีวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่คุณค่าสำคัญ (High Value) แต่ก็มี
ค่าใช้จ่ายสูง (High Cost) และก่อให้เกิดขยะทางการแพทย์อย่างมหาศาล (Lot of Medical Wastes and
High Global Worming) จึงได้หาแนวทางเพื่อลดค่าใช้จ่ายทั้งของโรงพยาบาล และผู้ป่วย ตลอดจนลดการใช้
ทรัพยากรที่เกินจำเป็น เพื่อลดปริมาณขยะทางการแพทย์ เป็นการช่วยโลกที่พวกเราอาศัยอยู่ด้วย
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาระบบในการเตรียมผู้ป่วยสำหรับการทำ CAG ลดขั้นตอน และลดภาระค่าใข้จ่ายขอ
โรงพยาบาลหัวหิน
2. ลดการใช้ทรัพยากร วัสดุทางการแพทย์ ขยะทางการแพทย์ ที่ใช้ในการทำหัตถการ CAG ที่ห้อง
สวนหัวใจ โรงพยาบาลหัวหิน
วิธีการศึกษา
กิจกรรมการพัฒนา (process) :
- สื่อสารกับทีมงานห้องสวนหัวใจ ถึงปัญหา และตั้งคำถามว่า ทำไม (WHY) ? ต้องพัฒนาระบบ
ตลอดจนลดการใช้วัสดุทางการแพทย์ที่เกินจำเป็น และถามต่อว่า พวกเราจะทำได้อย่างไร (HOW) ?
- ทำการวิเคราะห์ระบบ กระบวนการ และ ค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของหัตถการฉีดสี
วินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram, CAG) ด้วยกระบวนการ LEAN ค้นหาความสูญเปล่า
(Waste) แนวทางลดขยะ 7 R
- ด้านการลดความสูญเปล่า ได้ทำการพัฒนาระบบ ลดขั้นตอนในการเตรียมตัวทำหัตถกากร จากเดิม
ต้องมานอนโรงพยาบาลหัวหินก่อนทำหัตถการ 1 วัน เป็นแบบใหม่ ได้แก่ ให้ผู้ป่วยทำการตรวจมาจาก