Page 31 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 31
A7
การคัดกรองและประเมินประสิทธิภาพของการทำงานของหัวใจ
ผ่านการอัลตร้าซาวด์หัวใจ โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์
(Assessing the Efficacy of Artificial Intelligence in Left Ventricular Function
Screening Using Parasternal Long Axis View Cardiac Ultrasound Video Clips)
นพ.สิทธิลักษณ์ วงษ์วันทนีย์ นายณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์
นายธนานพ กอบชัยสวัสดิ์ นายชัยชนะ ถาวรทวีกุุล
โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท นวัตกรรม
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงที่หัวใจเป็นการตรวจมาตรฐานในการดูแลรักษาคนไข้ภาวะ
หัวใจล้มเหลว จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทยพบว่า มีคนไข้มากถึง 100,000 คน ต้องพัก
รักษาตัว ในโรงพยาบาลด้วยภาวะดังกล่าว ซึ่งการทำคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงที่หัวใจในคนไข้กลุ่มนี้
ไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชมชนที่ห่างไกล
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชนจะมีเครื่องอัลตร้าชาวด์ซึ่งสามรถใช้ตรวจวัดการทำงานหัวใจพื้นฐานได้
แต่อย่างไรก็ตามการประเมินผล จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอุปสรรดสำคัญในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ
ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทดโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีความสามารถประมวลผลได้อย่างแม่นยำในหลาย
ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงน่าจะสามารถประยุกต์ใช้กับการประเมินวิดีโอคลิปภาพคลื่นเสียง
ความถี่สูงที่หัวใจที่เก็บได้จากมือถือ การศึกษานี้จึงออกแบบมาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้
ปัญญาประดิษฐ์ในการประเมินการทำงานของหัวใจากภาพวิดีโอคลิปที่เก็บได้จาก Application ในมือถือ
สมาร์ทโฟน
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อประเมินประสิทธิภาพความแม่นยำของปัญญาประดิษฐ์ ในการประเมินการทำงานของหัวใจ
จากคลิปวิดีโอคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงที่หัวใจท่า Parasternal long axis view ที่ได้จาก Application
ในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน
วิธีการศึกษา
การสร้าง Application "Easy EF" ในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเพื่อเก็บภาพวิดีโอสั้นของการทำ
คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงที่หัวใจในท่า Parasternal Iong axis view และส่งภาพวิดีโอผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตไปยังปัญญาประดิษฐ์เพื่อประมวลผล จากวิดีโอคลิปที่ได้ทั้งหมด 923 คลิป ที่ถูกประเมินค่า LVEF
จากแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจแล้ว 739 คลิป จะใช้เพื่อฝึกการเรียนรู้และอีก 134 คลิป จะใช้เพื่อประเมิน
ประสิทธิภาพของปัญญาประดิษฐ์ในการแบ่งการทำงานหัวใจเป็น 3 กลุ่ม ตามมาตรฐาน ทั้งกลุ่มหัวใจทำงานน้อย
ทำงานปานกลางและทำงานปกติ
การศึกษาทดลองแบบสุ่ม Single blind randomized controlled study โดยการศึกษานี้เก็บข้อมูล
จากภาพวิดีโอเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูงของหัวใจที่ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ผ่าน Application
"Easy EF" โดยอายุรแพทย์โรคหัวใจและพยาบาลโรคหัวใจในโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุข ที่สมัครใจร่วมมือร่วมกับการใส่เก็บข้อมูลค่า LVEF ที่ทำและออกผลตามมาตรฐานโดยอายุรแพทย์
โรคหัวใจใน โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยค่า LVEF ถือค่าที่แพทย์รายงาน