Page 285 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 285

F43

                                         “Fast Pass ระบบส่งต่อผู้ป่วยเด็กแบบฉับไว”
                                   การส่งต่อแบบฉับไว เด็กน้อยปลอดภัย พึงพอใจกับทุกคน



                                           แพทย์หญิงนพวรรณ พงศ์โสภา, นางสาวบุญธรรม ภักดีพรหม, นางมาลี สิทธิการ
                                                         โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตสุขภาพที่ 11
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะเจ็บป่วย ที่ต้องได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลเอกชนมายัง
                  โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลด้วยกุมารแพทย์และการพยาบาลเฉพาะสาขา ปัจจุบันพบว่า

                  มีจำนวนผู้ป่วยเด็กที่ต้องส่งต่อจาก โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลเอกชนเฉลี่ยเดือนละ 60-70 ราย ผู้ป่วยเด็ก
                  วิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจหรือต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต มีระบบการส่งต่อในรูปแบบ Fast track แล้ว
                         ในขณะที่เด็กป่วยทั่วไป ยังคงใช้ระบบการส่งต่อรูปแบบเดิมคือ การส่งต่อผู้ป่วยมายังห้องฉุกเฉิน
                  เพื่อประเมินอาการ รวมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนทางเอกสาร ก่อนส่งตัวผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยเด็กสามัญ

                  จากการรวบรวมข้อมูล ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยเด็กที่ห้องฉุกเฉิน  ในระหว่างเดือน พฤษภาคม 2566
                  ถึง เดือนสิงหาคม 2566 พบว่ามีระยะเวลารอคอย เฉลี่ย 1 ชั่วโมง 50 นาที (32 นาที – 3 ชั่วโมง 48 นาที) ส่งผลให้
                  ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้วยทีมกุมารแพทย์ช้าลง รวมทั้งเพิ่มความแออัดให้แก่ห้องฉุกเฉิน กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
                  โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ในฐานะโรงพยาบาลแม่ข่ายจึงได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการส่งต่อแบบ Fast Pass

                  รวมถึงทำรบบการนำส่งผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยสามัญโดยตรง ไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ห้องฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่
                  1 กันยายน 2566 เป็นต้นมา เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กเข้าถึงบริการที่รวดเร็วและได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาจำนวนผู้ป่วยเด็กที่สามารถเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญ ด้วยระบบ Fast Pass

                  ตั้งแต่เริ่มใช้แนวทางในเดือน กันยายน 2566
                         2. เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ Fast Pass
                         3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของระบบ Fast Pass เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข พัฒนาให้สอดคล้อง
                  กับบริบทและเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยมากขึ้น

                  วิธีการศึกษา

                         ศึกษาแบบ retrospective descriptive study ในผู้ป่วยเด็กที่ส่งตัวจากโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาล
                  เอกชน รวมทั้งโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 11 ระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึง เดือนมีนาคม 2567 โดยรวบรวม
                  ข้อมูลจากการส่งต่อ ประวัติ การรักษา จากศูนย์ส่งต่อ เวชระเบียนผู้ป่วยนอก เวชระเบียนผู้ป่วยใน
                  โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ online
                  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ใช้รูปแบบร้อยละและค่าเฉลี่ย



                  ผลการศึกษา

                         จากการศึกษาพบว่าหลังเริ่มใช้แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยเด็กแบบ Fast Pass ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566
                  เป็นต้นมา จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 มีผู้ป่วยเด็กที่นำส่งมายังหอผู้ป่วยสามัญปลายทางทั้งสิ้นรวม 140 คน
                  เฉลี่ย 20 รายต่อเดือน รับจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.7 รับจาก
   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290