Page 289 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 289

G1

                      การพัฒนาโปรแกรมการฝึกสติแบบสั้นเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3

                                          ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

                                                                                           *
                                                                              *
                                                                                                            **
                                                                     รัชชา มีศิลป์  ,อารมณ์ ปิ่นเพ็ชร์  ,ปรัชพร กลีบประทุม
                                                                               *
                                                                                             **
                                                                 กลุ่มงานเวชกรรมสังคม ,กลุ่มงานสุขศึกษา  โรงพยาบาลอ่างทอง
                                                                                  จังหวัดอ่างทอง เขตบริการสุขภาพที่ 4
                                                                                                 ประเภทวิชาการ

                  บทคัดย่อ
                         การวิจัยกึ่งทดลองนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสติแบบสั้นเพื่อการ
                  ชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  โรงพยาบาลอ่างทอง 2 จังหวัด
                  อ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3 ที่มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ทั้งสิ้น

                  40 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และหลังการทดลองในสัปดาห์ที่
                  12 โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง และแบบบันทึกผลการตรวจร่างกาย
                  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
                  ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired t-test

                         ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมในการดูแลตนเอง น้ำหนัก เส้นรอบเอว
                  ดัชนีมวลกาย และผลลัพธ์ทางคลินิก eGFR ภายหลังการทดลอง ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง
                  สถิติ (p-value <0.001) ภายหลังเสร็จสิ้นการทดลองในสัปดาห์ที่ 12 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอัตราการกรองของ

                  ไต (eGFR) ที่สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ จำนวน 37 คน (ร้อยละ 92.5)
                         สรุปว่า โปรแกรมการฝึกสติแบบสั้นเพื่อชะลอไตเสื่อม มีประสิทธิผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                  สุขภาพที่เหมาะสม  สามารถชะลออาการรุนแรงของโรคไตเรื้อรังและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคได้

                  คำสำคัญ: โปรแกรมการฝึกสติแบบสั้น/ โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3/ การชะลอไตเสื่อม
                      *Corresponding author: นางรัชชา มีศิลป์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ E-mail: ratchaang3@gmail.com มือถือ 081-9487025

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่3 ขึ้นไป
                  ประมาณ 1.9 และ 1.6 เท่า (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค,2559) จากข้อมูลโรคเรื้อรังของสำนักงาน
                  สาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง  พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของอำเภอเมืองอ่างทอง ที่มี

                  ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ลดลง มากกว่าร้อยละ 4  ส่วนใหญ่จะเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3  อีกทั้งผลของ
                  การตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ประจำปี 2566 ของ รพ.อ่างทอง 2 พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน
                  120 ราย จากระบบการให้คำปรึกษาที่ผ่านมาโดยพยาบาลวิชาชีพ ในการให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice)
                  เรื่องพฤติกรรมการดูแลตนเอง พร้อมกับเอกสารแนวทางการดูแลตนเอง ติดในสมุดประจำตัว ที่จุดนัดหน้าห้อง
                  ตรวจ  ด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาและจำนวนผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก  ทำให้ระบบการให้คำปรึกษายังทำได้ไม่เต็มที่

                  ผู้ป่วยยังคงมีการรับรู้เรื่องการปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง มีความเครียด วิตกกังวล และแสวงหาช่องทางการรักษาที่ไม่
                  ถูกต้อง เช่นการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริมและยาล้างไต
                         ผู้วิจัยจึงมีความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

                  ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3  โดยการนำนวัตกรรมการฝึกสติแบบสั้น
   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294