Page 286 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 286
F44
โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัด 89 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.6 และรับจากโรงพยาบาลต่างจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 11
รวม 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.7 ผู้ป่วยเด็กทุกรายใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบสัญญาณชีพที่จุด Triage
รวมเวลานำส่งไม่เกิน 30 นาที ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่ต้องเข้ารับการรักษาเร่งด่วนที่ห้องฉุกเฉินก่อนนำส่งยังหอผู้ป่วย
ปลายทาง รวมทั้งไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ ภาวะตัวเขียว ระดับความรู้สึกตัวลดลง ชักเกร็ง
หมดสติ เกิดขึ้นกับผู้ป่วย โรคหรือภาวะที่ส่งต่อมารักษาที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 3 ลำดับแรก คือ Fever with
seizure, Pneumonia และ Fever with unknown origin ตามลำดับ
จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กุมารแพทย์ แพทย์ทั่วไป พยาบาลโรงพยาบาล
ต้นทางและปลายทาง รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค พบว่าระบบดังกล่าวมีประโยชน์ช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารักษา
ที่หอผู้ป่วยรวดเร็ว แต่ยังมีบางโรงพยาบาลไม่ได้นำส่งผู้ป่วยด้วยพยาบาลจากโรงพยาบาลต้นทาง พบอุบัติการณ์
1 ครั้ง หลังจากผู้ป่วยเข้าพักในหอผู้ป่วยแล้วแต่หากเป็นช่วงเวลาที่แพทย์จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยวิกฤตอยู่ ผู้ป่วยที่รับ
ในหอผู้ป่วยสามัญอาจได้รับการสั่งการรักษาที่ล่าช้ากว่า โดยพบอุบัติการณ์ดังกล่าว 2 ครั้ง ในระยะเวลา 7 เดือน
ที่ผ่านมา แต่ทั้ง 2 ครั้งไม่พบผลกระทบกับผู้ป่วย เนื่องจากให้การรักษาต่อเนื่องจากโรงพยาบาลต้นทาง
อภิปรายผล
การนำระบบการส่งต่อแบบ Fast Pass มาใช้ ภายในจังหวัดและเขตสุขภาพที่ 11 ได้รับความร่วมมือ
จากทุกภาคีเครือข่าย รวมทั้งทีมสนับสนุนได้แก่ ศูนย์ส่งต่อ ห้องบัตรและเวชระเบียน ศูนย์เปล จุด Triage
ประจำห้องฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยปลายทาง ถึงแม้ว่ายังพบการนำส่งโดยไม่มีพยาบาลโรงพยาบาลต้นทาง น่าจะเกิด
จากการสื่อสารไม่คลอบคลุม และพยาบาลที่ประสานส่งข้อมูลกับพยาบาล ที่เดินทางมาพร้อมป่วยไม่ได้
เป็นคนเดียวกัน หลังจากชี้แจงแนวทางอีกครั้งไม่พบอุบัติการณ์ซ้ำ
การส่งต่อไม่พบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ผู้ป่วยถูกนำส่งถึงหอผู้ป่วยสามัญอย่างปลอดภัยทุกราย ทั้งนี้
อาจเนื่องจากมีการโทรประสานปรึกษาเคสกับกุมารแพทย์โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีทุกครั้ง ทำให้สามารถคัดกรอง
กลุ่มผู้ป่วยวิกฤตได้ก่อน และยังสามารถให้ข้อแนะนำในการดูแลรักษาก่อนนำส่งผู้ป่วยอีกด้วย
สรุปและข้อเสนอแนะ
การส่งต่อผู้ป่วยเด็กแบบ Fast Pass จากโรงพยาบาลต้นทาง เข้ารักษาในหอผู้ป่วยสามัญโรงพยาบาล
สุราษฎร์ธานี ทำให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว ได้รับข้อมูลผู้ป่วยจากพยาบาลนำส่งโดยตรง
ลดระยะเวลารอคอยที่ห้องฉุกเฉิน รวมทั้งลดความแออัดให้แก่ห้องฉุกเฉิน
อนาคตหากมีการจัดระบบรายงานแพทย์ล่วงหน้าเพื่อให้เตรียมความพร้อมในการประเมินและรักษา
ผู้ป่วยทันที่ที่ถึงหอผู้ป่วย จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และระบบดังกล่าวสามารถนำไปใช้
กับผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นๆในโรงพยาบาลได้เพื่อลดความแออัดให้ห้องฉุกเฉิน