Page 290 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 290

G2

                  (Mindfulness Based Brief Intervention :MBBI) ในผู้ป่วยNCDs โดยใช้สติ-สมาธิร่วมกับการให้คำปรึกษา
                  และนำแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค มาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           1.เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ก่อนและหลังการเข้ารับการ
                  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการใช้การฝึกสติแบบสั้นร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

                            2.เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางกายได้แก่ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวก่อนและหลังการเข้ารับ
                  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3
                              3.เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
                  ระยะ ที่3 ก่อนและหลังการเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

                  วิธีการศึกษา

                          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง (One Groups Pretest -

                  Posttest Design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีอัตราการกรอง
                                             2
                  ของไต 30-59 ml/min/1.73 m  และมารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลอ่างทอง 2  คำนวณขนาด
                  ของกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางการวิเคราะห์ค่าอำนาจในการทดสอบ (power analysis) มีขนาดตัวอย่าง

                  ทั้งสิ้น 40 รายเก็บข้อมูล เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรม
                  การฝึกสติแบบสั้น แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายไตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง และแบบบันทึกผลการ
                  ตรวจร่างกาย โดยแบบสัมภาษณ์ชุดนี้ได้รับตรวจสอบคุณภาพ ในด้านความชัดเจนของภาษา และความตรงของ
                  เนื้อหาเท่ากับ 0.90 และผลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์
                  Cronbach’sAlpha=0.84  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน

                  เบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired t-test การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจาก
                  คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จังหวัดอ่างทอง เลขที่ ATGEC 46/2566

                  ผลการศึกษา
                            ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมการฝึกสติแบบสั้นเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3  มีการ
                  ดำเนินกิจกรรม  3 ครั้ง  ห่างกัน 1 เดือน   มีรายละเอียดดังนี้  ครั้งที่ 1 “สมาธิ การจัดการความว้าวุ่นใจ”

                  ครั้งที่ 2 “ฝึกสติพื้นฐาน” ครั้งที่ 3 “สติควบคุมอารมณ์และสติเป็นวิถีชีวิต ช่วยให้สุขภาพดี” โดยมีประสิทธิผล
                  ของโปรแกรมดังนี้
                             4.1 เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ก่อนและหลังการเข้ารับ

                  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการใช้การฝึกสติแบบสั้นร่วมกับการปรับเปลี่ยน
                                                                 ก่อน            หลัง        Mean
                                    ผลลัพธ์                 mean   SD      mean  SD         differenc     p
                                                                                               e
                   1.พฤติกรรมการบริโภคอาหาร                  36.56   5.49   42.84    2.17     -6.28    0.001*
                   2.พฤติกรรมที่มีผลต่อการรักษา              13.31   2.10   14.88    0.43    - 1.57    0.001*

                  * p < 0.001
   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295