Page 281 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 281

F39


                  สาระการเรียนรู้ตามช่วงอายุครรภ์ มีการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะการสอนแก่เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในคลินิก
                  ฝากครรภ์



                  อภิปรายผล

                         การศึกษาในครั้งนี้ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีบทบาทและ
                  มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การศึกษาสถานการณ์ การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เช่นเดียวกับการศึกษา
                  ของวัชรี เรือนคง ที่ศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการป้องกันและเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนด โดยใช้

                  พลังขับเคลื่อนเครือข่าย เป็นการดึงศักยภาพต้นทุนทางสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เครือข่ายเกิดการรับรู้
                  และตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด กระบวนการเยี่ยมบ้าน ส่งผลให้เกิด
                  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความรู้ เกิดความตระหนักและมีการดูแลตนเองได้ดีขึ้น

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         จากการศึกษาในครั้งนี้ ได้สถานการณ์การดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันการคลอดก่อน
                  กำหนดยังไม่ถูกต้อง ครอบครัวและชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการให้คำแนะนำและการดูแล
                  หญิงตั้งครรภ์ ชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์น้อย เจ้าหน้าที่ให้บริการไม่มีหลักสูตร

                  การสอนโรงเรียนพ่อแม่ที่เฉพาะการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ไม่มีสัญญาณเตือนอันตราย
                  การเฝ้าระวัง การคลอดก่อนกำหนด จึงมีการพัฒนาระบบการให้บริการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในสถานบริการ
                  และในชุมชน มีระบบเฝ้าระวังอาการเตือนคลอดก่อนกำหนดล่วงหน้า เกิดการพัฒนาความรู้และส่งเสริม

                  การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน จัดให้มีระบบการค้นหาหญิงตั้งครรภ์และเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างชุมชน
                  และสถานบริการ จะสามารถลดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้

                  ข้อเสนอแนะ

                         1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไป 1) ควรมีการทบทวนทำความเข้าใจในแนวทางการให้บริการ
                  ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่พัฒนาขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 2) ประสานผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนด 3) จัดทำระเบียบ

                  ปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่เป็นลายลักษณ์อักษรและมอบให้แก่หน่วยงาน
                  ที่เกี่ยวข้อง
                         2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้

                  มีการนำรูปแบบไปใช้อย่างต่อเนื่อง 2) ควรมีการศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาพัฒนาแนวทางการ
                  ให้บริการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดต่อไป 3) ควรมีการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
                  ไปขยายทดลองใช้ในพื้นที่อื่น เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286