Page 291 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 291
G3
4.2 เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางกายได้แก่ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวก่อนและหลังการเข้ารับการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ก่อน หลัง Mean
ผลลัพธ์ p
mean SD mean SD difference
1.น้ำหนัก 66.17 14.25 65.24 14.26 0.93 0.001*
2.ดัชนีมวลกาย 26.22 5.46 25.85 5.49 0.36 0.001*
3.เส้นรอบเอว 91.94 13.79 89.85 13.25 20.80 0.001*
p < 0.001
4.3 เปรียบเทียบค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3 ของผู้ป่วย
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังการเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอ ไตเสื่อม
ก่อน หลัง Mean
ผลลัพธ์ p
mean SD mean SD difference
1. eGFR 49.09 7.53 54.78 13.25 -5.69 0.001*
* p < 0.001
อภิปรายผล
พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกสติแบบสั้น ทั้ง 3 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคไต
เรื้อรัง ผลลัพธ์ทางกาย ผลลัพธ์ทางคลินิกเกี่ยวกับค่าการทำงานของไตeGFR ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001 อธิบายได้ว่า ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการ
ป้องกันโรคของ Roger ที่ว่าการให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ได้รับรู้และวิเคราะห์ภาวะสุขภาพของตนเอง รับรู้
ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่น มีพลังอำนาจในตนเองที่
จะขับเคลื่อนโดยการแสดงให้เห็นถึงความน่ากลัว ผ่านการรับรู้ถึงอันตราย นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ชะลอไตเสื่อมจนมีผลลัพธ์ทางกายและทางคลินิกดีขึ้น สอดคล้องกับ (ชูชีพ โพชะจาและคณะ ,2562) ได้
ทำการศึกษารูปแบบการเจริญสติเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มา
รับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน พบว่ากลุ่มทดลองหลังได้รับการ
เจริญสติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<.01) และส่งผลให้ค่าการทำงานของไต eGFR ดีขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
6.1 การวิจัยนี้ต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของ
Roger ตลอดจนความรู้เรื่องการฝึกสติแบบสั้น เอกสาร บทความวิชาการ งานวิจัย มาประยุกต์ใช้ ในการ
ดำเนินการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่เป็นผู้สูงอายุ ต้อง
ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงเดิมและสร้างความรู้ ความเข้าใจใหม่ เพื่อนำไปปฏิบัติตนที่ถูกต้องและเหมาะสม
6.2 พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพที่จะนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ จำเป็นต้องผ่านการอบรม
การฝึกสติแบบสั้น สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Mindfulness Based Brief Intervention for NCDs)
ตลอดจนต้องศึกษาคู่มือการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้อย่างละเอียดเพื่อให้การใช้โปรแกรมเกิดประสิทธิผลมาก
ที่สุดและนำไปบูรณาการกับการดูแลที่มีอยู่ในปัจจุบัน