Page 297 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 297

G9

                  พื้นที่เกาะ ซึ่งทำการแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่อาการคงที่สามารถดูแลตนเองได้ และสามารถ
                  เข้ารับบริการด้วยการแพทย์ทางไกลและสามารถเข้ารับการบริการกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ 2) กลุ่ม
                  ผู้ป่วยที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรกรรม ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 เท่านั้นที่สามารถเข้ารับ

                  บริการการแพทย์ทางไกลได้ เมื่อทำการกำหนดกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับบริการการแพทย์ทางไกลได้แล้วจึงจัดทำ
                  ขั้นตอนการเข้ารับบริการ โดยใช้แนวคิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) คือ คลินิกผู้ป่วยนอกของ
                  โรงพยาบาลสตูล ดังนั้นการออกแบบรูปแบบบริการต้องทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มภาระกิจปฐมภูมิ

                  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) คณะกรรมการสารสนเทศโรงพยาบาล คณะกรรมการ
                  ดิจิตอลทางการแพทย์ สามารกำหนดการพัฒนาได้ 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการการทำงานในพื้นที่
                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต)  และ 2) ขั้นตอนการทำงานในพื้นที่โรงพยาบาลสตูล
                         1)  ขั้นการการทำงานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) คือ การพัฒนาระบบริการ 3
                   ประเด็น ได้แก่ 1)การเข้าถึงและเข้ารับบริการ 2) การประเมินผู้ป่วย 3) การดูแลต่อเนื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่

                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) จะทำงานหน้าที่เสมือนเจ้าหน้าที่ห้องบัตรและพยาบาลคัดกรองของ
                  โรงพยาบาลสตูล โดยต้องทำการระบุตัวบุคคล ประเมินอาการแรกรับและซักประวัติผู้ป่วย พร้อมกับการเปิด
                  visit ผู้ป่วยนอกในโปรแกรม JHCI หรือ HOSxp PCU  รวมถึงเปิด visit ผู้ป่วยนอกในโปรแกรม HOSxp ของ

                  โรงพยาบาลสตูล ซึ่งเป็นระบบออนไลน์ที่ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) สามารถ
                  ดำเนินการได้ ณ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ที่ตนเองปฏิบัติงาน เพื่อให้แพทย์ทางโรงพยาบาล
                  สตูล สามารถบันทึกข้อมูลการรักษาได้อย่างต่อเนื่องในโปรแกรม HOSxp ณ โรงพยาบาลสตูล ขณะที่ข้อมูลการ
                  คัดกรองให้บันทึกในโปรแกรม JHCI หรือ HOSxp PCU เพื่อให้ระบบ R12 network ดึงข้อมูลเข้าสู่ cloud

                  ส่งผลให้แพทย์โรงพยาบาลสตูลสามารถดูข้อมูลการซักประวัติผู้ป่วยได้ โดยใช้ช่องทางการดูประวัติผู้ป่วยด้วย
                  R12 network รวมถึงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ต้องทำการแนะนำการลงนามใบ
                  ยินยอมเข้ารับการรักษาด้วยบริการการแพทย์ทางไกล และเมื่อแพทย์ทำการรักษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่
                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) จะทำการออกเอกสารนัดหมายหรือใบส่งตัวผู้ป่วย สรุปรายการยา

                  และการปฏิบัติตัวตามแนวทางการรักษาของแพทย์
                         2)  ขั้นตอนการทำงานในพื้นที่โรงพยาบาลสตูล คือ การพัฒนาระบบริการของการทำงานแพทย์
                  ผู้รักษาซึ่งการบริการการแพทย์ทางไกลโรงพยาบาลสตูลจะทำการให้บริการโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
                  ซึ่งต้องจัดทำตารางการตรวจแพทย์เหมือนตารางการตรวจทั่วไปในคลินิกผู้ป่วยนอก โดยแพทย์ต้องใช้โปรแกรม

                  R12 network เพื่อเข้าดูประวัติการรักษาของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งแพทย์สามารถเรียกข้อมูลการเข้ารับบริการใน
                  สถานบริการทั้งในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และโรงพยาบาลสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวง
                  สาธารณสุข ทั้งหมดในเขตสุขภาพที่ 12 และแพทย์ทำการบันทึกข้อมูลการรักษา เวชภัณฑ์ ยา แผนการรักษา

                  การรักษาต่อเนื่องใน HOSxp เพื่อให้ระบบ R12 network ดึงข้อมูลไปแสดงในฐานข้อมูล และเจ้าหน้าที่
                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) นำไปบันทึกในโปรแกรม JHCI หรือ HosXP PCU เพื่อนำจ่ายให้
                  ผู้ป่วยและทำการให้บริการผู้ป่วยต่อไป ซึ่งทั้งหมดเป็นการสั่งจ่ายในกรณ๊สั่งจ่ายเวชภัณฑ์และยาจากคลังยา
                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ส่วนกรณ๊ต้องการสั่งจ่ายยาจากโรงพยาบาลสตูล แพทย์จะทำการ
                  บันทึกรายการยาในโปรแกรมรายการยารูปแบบเดียวกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยการ

                  กำหนดรูปแบบร่วมกันระหว่างแพทย์และเภสัช เพื่อให้ทางเภสัชทราบได้ว่ารายการยาที่สั่ง เพื่อส่งต่อไปยัง
                  ผู้ป่วยในพื้นที่เกาะที่เข้ารับบริการแพทย์ทางไกล โดยการส่งต่อยาจากโรงพยาบาลสตูลสู่ผู้ป่วยพื้นที่เกาะจะทำ
                  การส่งโดยการมีเจ้าหน้าที่นำส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต)
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302