Page 310 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 310

G22


                  ผลการศึกษา
                         จากการทำการศึกษาการจัดการปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน
                  พบว่าสามารถติดตามผู้ป่วยได้ทั้งสิ้น 54 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 65.17 ปี ส่วนใหญ่มีสิทธิ

                  การรักษาเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ป่วยจะอาศัยญาติในการดูแลการใช้ยาเท่ากับการอาศัยตนเอง
                  และพบว่าโรคประจำตัวที่พบ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมัน
                  ในเลือดสูง โรคไตเรื้อรัง โรคเกาต์ โรคหอบหืด โรคไทรอยด์ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคอื่นๆ เช่น หัวใจ
                  วาย ลมชัก ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น ตามลำดับ รายการที่ผู้ป่วยใช้เฉลี่ย 6.78 ± 3.11 รายการ จำนวนยาน้อย
                  ที่สุด 2 รายการ และมากที่สุด 17 รายการ โดยรายการยาที่มีผู้ป่วยใช้มากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่

                  Simvastatin 20 mg, Omeprazole 20 mg, ASA 300 mg, ASA 81 mg, Amlodipine 5mg, Folic 5 mg,
                  CaCO3 1,250 mg, Metformin 500 mg, Glipizide 5 mg และ Paracetamol 500 mg ตามลำดับ
                         ปัญหาการใช้ยาพบทั้งหมด 78 ปัญหา ในผู้ป่วย 26 ราย เมื่อสิ้นสุดการเยี่ยมบ้านพบว่าสามารถแก้ไข

                  ปัญหาจากการใช้ยาได้เหลือ 15 ปัญหา โดยคิดเป็นจำนวนปัญหาจากการใช้จากเฉลี่ยต่อคน 1.53±0.21
                  และเมื่อแก้ปัญหาจากการใช้ยาแล้วปัญหาจากการใช้ยาเฉลี่ยต่อคนเหลือ 0.52±0.07 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
                  ทางสถิติ (p-value < 0.001) ทั้งนี้ปัญหาการใช้ยาที่พบมากที่สุดคือผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยา
                  ที่ใช้รักษา รองลงมาคือผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องแต่ขนาด/ระยะเวลา/รูปแบบ/วิธีบริหารยาไม่เหมาะสม ผู้ป่วย

                  ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยไม่ได้รับผลอย่างเต็มที่จากยาที่แพทย์สั่งจ่าย ผู้ป่วยเกิดหรือมี
                  โอกาสเกิด อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ผู้ป่วยได้รับยาซ้ำซ้อน ผู้ป่วยได้รับยาที่มีอันตรกิริยาต่อกัน
                  หรือต่ออาหารหรือต่อโรค หรือต่อผลตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก และผู้ป่วยได้รับยา
                  ที่ไม่มีข้อบ่งใช้ ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคแต่ไม่ได้รับยาในการรักษา/บรรเทาอาการ ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่เหมาะสม

                  ผู้ป่วยมีปัญหาทางการเงินอันเนื่องมาจากการรักษาด้วยยาตามลำดับ

                  อภิปรายผล
                         ผลการศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีโรคร่วมอย่างน้อย 1 โรค ผู้ป่วย
                  ส่วนใหญ่ได้ยาหลายรายการ (6.78 ± 3.11 รายการ) ผู้ป่วยและญาติมีส่วนในการดูแลการใช้ยาเหมือนกัน

                  ปัจจัยดังกล่าวมีความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาการใช้ยาได้มาก ซึ่งจากการศึกษาของอรนุช สารสอน และคณะ
                  พบว่าปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ได้รับยามากกว่าหรือเท่ากับ 5 รายการขึ้นไป
                         การเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพทำให้พบปัญหาการใช้ยา โดยพบว่าผู้ดูแลการใช้ยาส่วนใหญ่มักขาด
                  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษา ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องแต่ขนาด/ระยะเวลา/รูปแบบ/วิธีบริหารยา
                  ไม่เหมาะสม และผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาตามแพทย์สั่ง เมื่อติดตามผลหลังจากให้คำปรึกษาแนะนำ

                  ด้านยาพบว่า มีจำนวนปัญหาจากการใช้ยาลดลงจาก 78 ปัญหาเหลือ 15 ปัญหา ปัญหาเฉลี่ยต่อคนลดลง
                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 1.53±0.21 เหลือ0.52±0.07 (p=0.001) ซึ่งใกล้เคียงกับการศึกษาของสมมนัส
                  มนัสไพบูลย์ และคณะ และสอดคล้องกับการศึกษาของวิกานกา เวชอุบลและคณะ พบว่ามีการลดลงของปัญหา

                  จากการใช้ยาหลังจากผู้ป่วยได้รับคำปรึกษาด้านยา ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ 1. ผู้ป่วย
                  ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษา เนื่องจากผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความเชื่อตามคำบอกเล่าของเพื่อนบ้าน
                  หรือคนรู้จักว่าหากใช้ยาหรือสมุนไพรตามคำบอกเล่าจะทำให้อาการดีขึ้น ผู้ป่วยและผู้ดูแลหยุดใช้ยาตามที่
                  แพทย์สั่งเนื่องจากว่ามีความกังวลว่าจะใช้ยามากเกินความจำเป็นหรือเป็นอันตรายต่อตับและไต 2. ผู้ป่วยได้รับ

                  ยาถูกต้องแต่วิธีการบริหารยาไม่เหมาะสม ซึ่งพบว่าผู้ป่วยได้รับการบริหารยาไม่เพียงพอต่อการควบคุมโรค
                  หรือได้รับยาในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม เช่น ได้รับยากันชัก Phenytoin แคปซูลรูปแบบที่ให้ทางสายอาหารไม่ได้
                  ซึ่งทีมสหวิชาชีพได้ปรึกษาหาแนวทางเพื่อทำการแก้ไขทันที 3. ผู้ป่วยและผู้ดูแลไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา
                  ตามที่แพทย์สั่ง ผู้ป่วยบางรายไม่ต้องการกินยาต่อเนื่องและกังวลว่ายาที่รับประทานจะมีผลเสียต่อตับหรือไต
   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315