Page 315 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 315

G27

                                                  “หายกังวล ฉันวัดความดันด้วยตนเอง”
                                การพัฒนาระบบการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

                                                             วิธวินท์ ฝักเจริญผล นายแพทย์ชำนาญ,การจิดาภา ปิจะยัง

                                                                                เวชกรรมสังคม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
                                                                                    จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                 ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ศูนย์แพทย์ริมละลม รพ.บุรีรัมย์ มีผู้ป่วยมารับบริการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ประมาณ 658 รายต่อ
                  ปี  ยังพบผู้ป่วยกว่า 361ราย คิดเป็นร้อยละ 55 มีระดับความดันโลหิตเกินเกณฑ์มาตราฐาน ( >

                  140/90mmHg) ส่วนหนึ่งเป็นจากความตื่นเต้น ความกังวลเมื่อมาวัดความดันโลหิตในห้องตรวจหรือ
                  สถานพยาบาล (White coat effect) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเวชปฏิบัติโรคความดันโลหิตสูงที่ส่งเสริมให้
                  ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง นำมาสู่การพัฒนาระบบการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองโดยอาศัยความ
                  ร่วมมือจาก อสม. และสถานีสุขภาพในการวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อทราบความชุกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในห้องตรวจ (White
                  coat effect)  และเพื่อให้มีการใช้ยาลดความดันโลหิตอย่างเหมาะสม ระยะเวลา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565
                  – 30 กันยายน พ.ศ. 2566

                  วิธีการศึกษา
                         ประชากรที่เข้าร่วมการศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่ศูนย์แพทย์ชุมชนริมละ

                  ลมและกินยาลดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ มีค่าความดันโลหิตเมื่อวัดที่ศูนย์แพทย์ชุมชนริมละลม มีค่าความ
                  โลหิตตัวบนระหว่าง 140 -180 mmHg หรือ ค่าความดันโลหิตตัวล่างอยู่ระหว่าง 90 – 120 mmHg จะให้รับ
                  คำแนะนำให้วัดความดันโลหิตด้วยตนเองหรือวัดความดันโลหิตกับ อสม. และทำกับเปรียบเทียบค่าความดัน
                  โลหิตที่วัดที่ศูนย์แพทย์กับค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้าน หากมีค่าความดันโลหิตตัวบนต่างกันมากกว่า 10

                  mmHg หรือ ค่าความดันโลหิตตัวล่างต่างกันมากกว่า 5 mmHg แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงในห้อง
                  ตรวจ (White coat effect)

                  ผลการศึกษา
                         จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้าระบบวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง จำนวน 116 ราย เพศหญิง 73
                  ราย เพศชาย 43 ราย อายุเฉลี่ย 65.28 ปี ความดันโลหิตเฉลี่ยในห้องตรวจเป็น 149.6 ±10.2 / 78.33±12.6

                  mmHg  ความดันโลหิตเฉลี่ยเมื่อวัดด้วยตนเองเป็น 138.47±12.9 / 76.78±10.09 mmHg จำนวนผู้ป่วยที่มี
                  ภาวะความดันโลหิตสูงในห้องตรวจเป็น 40 ราย คิดเป็น ร้อยละ 34.8 ในจำนวนนี้มีผู้ป่วย 35 ราย ความดัน
                  โลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่ต้องเพิ่มการใช้ยาลดความดันโลหิต ลดมูลค่ายาลดความดันโลหิตได้ 12,755 บาท

                  ต่อปี (คิดมูลค่ายาเม็ดละ 1 บาท)
   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320