Page 312 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 312
G24
การพัฒนาระบบรายงานโรคเฝ้าระวัง โรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
นายชิณวัตร เกาะม่วงหมู่ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
งานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเทพสถิต
จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
ด้วยในปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรค รวมถึงภัยคุกคามทางด้านสุขภาพ โดยมีผลบังคับใช้ให้บุคคลปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย
มาตรการและคุณภาพตามมาตรฐานการดำเนินงาน
โรงพยาบาลเทพสถิต กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม งานควบคุมโรค เป็นโรงพยาบาลชุมชน
ขนาด F2 มีสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพสถิตเป็นศูนย์งานระบาดอำเภอเทพสถิต พื้นที่มีความเป็นชนบท
และบางพื้นที่ห่างไกลจากตัวอำเภอ มีการจัดตั้งทีม SRRT ทุกตำบล จากการทบทวนและติดตามระบบการเฝ้า
ระวังและการส่งรายงานโรคเฝ้าระวังในพื้นที่ ยังไม่ทันเวลาตามเกณฑ์ที่กำหนด (ต่ำกว่าเป้าหมาย มากกว่าร้อย
ละ 90) ซึ่ง ปี 2563 – 2565 ผลงานการส่งรายงานการเฝ้าระวังโรคได้ร้อยละ 84.39 , 83.50 และ 85.03
ตามลำดับ พบว่ามีสาเหตุและโอกาสพัฒนา คือ 1)บุคลากรในทีมขาดการทบทวนแนวทางการดำเนินงานและ
ขาดการฟื้นฟูองค์ความรู้ในการควบคุมโรค 2) แนวทางและเกณฑ์ในการควบคุมโรค และการส่งรายงานยังไม่
ชัดเจน 3) ระบบการรายงานโรคขาดการติดตาม การประเมินผล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบ
ส่งต่อข้อมูลในพื้นที่ล่าช้า 4) การสื่อสารภายในทีม ขาดผู้ประสานงานหลักภายในทีม การเชื่อมประสานงานใน
พื้นที่ สิ่งเหล่านี้ทำให้การส่งรายงานในพื้นที่ล่าช้า หากการเฝ้าระวังโรคไม่ทันเวลาจะมีผลต่อการป้องกัน
ควบคุมโรค ซึ่งอาจเกิดการระบาดของโรคในวงกว้างได้ ทีมจึงได้พัฒนาระบบรายงานโรคเฝ้าระวัง เพื่อความ
ทันเวลาในการรายงานข้อมูล ส่งผลให้การป้องกัน ควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและไม่มีการระบาดของ
โรคในวงกว้าง
วัตถุประสงค์
1) ทีม SRRT ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอ
2) ทีมควบคุมโรคโรงพยาบาลเทพสถิตส่งรายงานการเฝ้าระวังโรคทันเวลา มากกว่าร้อยละ 90 ภายในปี 2567
3) ทีมควบคุมโรคโรงพยาบาลเทพสถิตส่งรายงานให้พื้นที่สอบสวนโรคทันเวลา มากกว่าร้อยละ 80
ภายในปี 2567
วิธีการศึกษา
โรงพยาบาลเทพสถิต ได้พัฒนาระบบรายงานโรคเฝ้าระวังในพื้นที่ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และ
ควบคุมโรค รวมถึงภัยคุกคามทางด้านสุขภาพ โดยการใช้แนวคิด 3C-PDSA ทบทวนโอกาสพัฒนา การ
ติดตาม กำกับระบบการเฝ้าระวัง นำไปสู่การพัฒนาระบบบการรายงานเฝ้าระวัง โดย
1) จัดประชุมทีมควบคุมโรคระดับอำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท้องถิ่น ชุมชน ทบทวนแนวทางการ
ดำเนินงาน และวิเคราะห์โอกาส ข้อจำกัดในการดำเนินงานควบคุมโรค
2) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายทีมควบคุมโรคให้ผ่านการอบรมหลักสูตร CDCU เป็นผู้มีความสามารถ มี
มาตรฐานในการควบคุมโรค
3) จัดทำแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
3.1) ขออนุมัติประกาศใช้แนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง